สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 2831เข้าชม
  • 3ตอบกลับ

Color subsampling

ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
21
เงิน
239
ความดี
190
เครดิต
77
จิตพิสัย
321
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
Color subsampling คืออะไรครับแล้วมีประโยชน์เกี่ยวกับการตัดต่ออย่างไรครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
145
เงิน
2250
ความดี
1375
เครดิต
1138
จิตพิสัย
1408
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
มาเก็บความรู้ครับ
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
หลักการบันทึกภาพวีดีโอ ที่ใช้กันมาตลอดนั้น อธิบายง่ายๆก็คือ เราจะบันทึกสัญญาณภาพขาวดำเป็นพื้นหลังก่อน แล้วก็เอาสัญญาณสี วาดทับลงไปอีกที




สมมุติเฟรมภาพขนาด Full HD 1920*1080 ละกัน
- สัญญาณความสว่าง(=ขาวดำ) จะมีขนาดเต็ม 1920*1080 พิกเซล
- แต่...สัญญาณสีนั้น จะบันทึกที่ความละเอียดประมาณ 960*540 พิกเซล เท่านั้นเองครับ (4:2:0 subsampling)


ไม่ได้บันทึกครบทั้ง 3 แม่สี RGB ในทุกๆพิกเซลแต่อย่างใด


ช็อกกันเลยสิท่า...  




ถ้ายังช็อกไม่พอ ขอซ้ำดาบสอง ด้วยการบอกว่า เทคนิคนี้...ใช้กันมาตั้งแต่ยุควีดีโออนาล็อกแล้วละครับ
อะนาล็อกเทปทุกฟอร์แมท จะบันทึกสัญญาณ luma ที่ความถี่ระดับหลาย MHz แต่จะบันทึกสัญญาณ chroma ที่ความถี่ต่ำกว่ามากๆ อย่างเทป vhs นี่ ลงไปถึงระดับไม่กี่ร้อย kHz เลยด้วยซ้ำ ถ้าผมจำไม่ผิดนะ
(อาการสีเหลือบๆ เหลื่อมๆ เละๆ ที่เห็นเวลาเราดูวีดีโอเทปสมัยก่อนนั่นแหละครับ เกิดจากข้อจำกัดตรงนี้แหละ     )


ถ้าถามว่า ทำได้ยังไง? แล้วตาคนเราแยกไม่ออกเหรอ?
นั่นแหละครับคำตอบ...ก็เพราะตาคนเราแยกไม่(ค่อย)ออกอยู่แล้ว ว่าภาพนี้ รายละเอียดของสีสันเต็ม 100% หรือว่าไม่ครบ หายไป 50%
เมื่อสายตามนุษย์แยกแยะไม่ออกอยู่แล้ว ก็ไม่รู้จะไปบันทึกข้อมูลละเอียดยุบยับขนาดนั้นทำไม? โยนทิ้งไปซะตั้งแต่ก่อนจะ encoding เลยดีกว่า ลดภาระฮาร์ดแวร์ไปได้เกือบครึ่งๆด้วย


ดังนั้น โดยทั่วไป จึงไม่นิยมการบันทึกเป็นสัญญาณ RGB เต็มๆ ตรงๆ ทุกพิกเซล ยกเว้นกรณีทุ่มทุนสร้างเต็มที่ บันทึกมาเป็น RAW ดิบๆตรงๆเลย อันนั้นก็อีกเรื่อง
ซึ่งถ้าไม่ใช่งานที่จำเป็นจริงๆ อย่างเช่นเอาไปทำ chromakey/แก้สีกันอย่างหนักหนาสาหัส ก็คงไม่ต้องทำขนาดนั้นก็ได้


กรณีที่เราอาจต้องพิจารณาในขั้นตอนการตัดต่อ เท่าที่นึกออก ก็คงมีแค่ 2 ประเด็น
1.ตอนที่ต้องมีการแปลงไฟล์/render เกิดขึ้น ซึ่งเราควรจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยน chroma subsampling โดยไม่จำเป็น 4:1:1<->4:2:2<->4:2:0 อะไรจำพวกนี้
2.แปลงขึ้น เช่น 4:2:0>>4:4:4 ไฟล์ใหญ่ขึ้นโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าแปลงลง 4:2:2>>4:2:0 ก็จะเสียรายละเอียดอันพึงมีไป


ว่าๆไป ก็ทำนองเดียวกับการตั้ง sampling rate ของไฟล์เสียงนั่นแหละครับ แปลงไปแปลงมา 48kHz>>44.1kHz>>22.1kHz>>48kHz โดยไม่จำเป็น เสียงก็จะ "เละ"กันหมดพอดี    
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ถ้าจะอธิบายจริงๆ จะยาวมากกกกก งั้นขอตอบโพสต์แรกแบบรวบรัดสุดๆก่อนละกันนะครับ


1.จริงๆไม่ค่อยเกี่ยวกับการตัดต่อเท่าไหร่หรอกครับ เป็นประเด็นทางเทคนิคที่เฉพาะทางนิดนึง&NLE แทบทุกตัว รองรับเกือบจะทุก Subsampling อยู่แล้ว แทบไม่ต้องไปใส่ใจเลยก็ยังได้
2.นิยามของ Color subsampling พูดง่ายๆก็คือ resolution ของสัญญาณ"สี"(chroma)ของวีดีโอแต่ละเฟรม ซึ่งจะมีความละเอียดน้อยกว่าสัญญาณ"ขาวดำ"(luma)ในเฟรมนั้นๆ เพื่อที่จะได้เป็นการลดปริมาณข้อมูลที่จะต้อง encode ลงไป


ถ้าไม่สงสัยอะไรก็จบแค่นี้ แต่ถ้าใครว่างมาก/อยากฆ่าเวลาเล่นๆ/รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ก็อ่านคคห.อันข้างล่างต่อได้เลยครับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้