เวอร์ชันเต็ม: [-- ถ้าได้สร้างภาพยนตร์จะใช้กล้องถ่ายกี่ตัวครับ --]

ThaiDFilm : ถ่าย VDO DSLR และ ตัดต่อ หนังสั้น -> คุยเรื่องกล้อง DSLR VDO และ กล้องชนิดอื่น -> ถ้าได้สร้างภาพยนตร์จะใช้กล้องถ่ายกี่ตัวครับ [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

handsomeboy 2011-10-16 05:08

ถ้าได้สร้างภาพยนตร์จะใช้กล้องถ่ายกี่ตัวครับ


หนังใหญ่ทำไมชอบใช้กล้องตัวเดียวถ่าย ทำไมไม่ใช้หลายตัวเหมือนละคร  จะใช้หลายตัวเหมือนละครจะผิดไหมครับ

ทราบมาว่าหนังพี่ต้อมยุทธเลิศ ใช้กล้อง2ตัวถ่ายทุกฉากเลย
แล้วสมมุติว่าถ้าได้ทำหนังใหญ่ พี่จะใช้กล้องถ่ายกี่ตัวครับ เอาฉากธรรมดานะครับ ไม่ใช่ฉากใหญ่ๆ ขอทราบเหตุผลด้วยครับ



kgb 2011-10-16 06:45
มันแล้วแต่ผู้กำกับแต่ละท่านที่จะใช้กี่กล้องครับ ส่วนมาที่ภาพยนตร์ใช้กล้องเดียวก็เพราะว่าควบคุมแสงควบคุมอารมณ์การแสดงได้ละเอียดกว่าครับ เพราะทำทีละคัท จะแตกช็อทอะไรก็ง่ายกว่า จัดแสงจัดไฟได้ดีกว่า เพราะไม่ต้องกลัวกล้องตัวที่ 2 ที่ 3 จะแทงมาเห็นไฟครับ

ส่วนหนังที่คุณยุทธเลิศที่ว่าใช้กล้อง 2 ตัวก็คงเพราะสะดวกต่อการตัดต่อครับ ถ้าวางไลน์กล้องเป๊ะจะใช้กี่กล้องก็ได้ แต่ข้อจำกัดก็จะเยอะตามจำนวนกล้องครับ เช่นอย่างที่กล่าวไปข้างต้นและในเรื่องของเนื้อที่การทำงานของแต่ละกล้องด้วยครับ และที่สำคัญการใช้หลายกล้องนักแสดงจะเล่นน้อยเทคลงครับ เพราะมีมุมรับอยู่แล้ว

ส่วนละครโทรทัศน์นั้นใช้วิธี Switching ครับจึงถ่ายหลายกล้องหน่อย เพื่อความสะดวกและความรวดเร็วครับ เพราะละครโทรทัศน์ระยะทำงานต่อตอนมันสั้นกว่าภาพยนตร์มากครับ ภาพยนตร์บางเรื่องโปรเจคนึงหลายๆ เดือนหรือบางเรื่องเป็นปีครับ เวลาทำงานค่อนข้างเยอะ แต่ละครโทรทัศน์บางเรื่องมีเวลาออกกองรวมตัดต่อแค่เพียงไม่กี่วันครับ ถ่ายไปตัดไปออกอากาศไปครับ จะให้มาบรรจงถ่ายทีละคัทตัดต่อทีละกล้องแบบภาพยนตร์คงไม่ทันครับ อย่างการถ่ายคอนเสิร์ตใหญ่ๆ บางงานก็มีถึง 16-17 กล้องครับ ถ้าคอนเสิร์ตใหญ่จริงๆ และผู้กำกับภาพต้องการมุมกล้องแปลกตาอาจจะมีเกิน 20 กล้องได้ครับแต่ส่วนมากจะใช้วิธีบันทึกทุกกล้องพร้อมกันครับแล้วก็ Switch คร่าวๆ ไว้เป็น Master แล้วก็ไป Post กันตอนหลังเพื่อเก็บรายละเอียดซ่อมแซมกันอีกทีครับ

nino-visual 2011-10-16 06:53
เหนใจคนตอบ

yimismyname 2011-10-16 08:28
ผมชอบกล้องตัวเดียวมากกว่านะงานมันดูละเอียดกว่า

purefresh 2011-10-16 09:04
เพราะว่าใช้กล้องตัวเดียวไงครับ จึงทำให้ภาพยนตร์ ต่างจากละคร ภาพยนตร์มันไม่ได้ต้องการความต่อเนื่องลำดับเป็นวินาทีอย่างในละครแบบตัวละครจะหันซ้ายหันขวาก็มีกล้องคอยรับตลอด แต่ภาพยนตร์จะลำดับเป็นเหตุการณ์มากกว่า ตัวอย่าง ตัวละครจะเดินไปเปิดประตู  ก็อาจมีแค่ 2 คัต คัตแรกถ่ายเท้ากำลังเดิน 2 วิ แล้วคัตต่อมามือกำลังหมุนลูกบิด คนดูก็เข้าใจแล้วว่ามันเดินมาเปิดประตู ละครพยายามทำให้สมจริงเหมือนกับโลกที่เป็นอยู่ แต่ภาพยนตร์คือการสร้างโลกแห่งจินตนาการให้คนดูเชื่อว่ามีอยู่จริง ทั้งที่คนดูเขาก็รู้อยู่แล้วว่ามันไม่มีจริง...เป็นที่มาของการเลือกถ่ายในระบบ 24 fps ถ้าอยากรู้เรื่อง Film look ลองพิมพ์ลงในช่องค้นหาได้เลยครับ เพราะมันเกี่ยวเนื่องกัน..ตอบตามที่รู้และเข้าใจนะครับ ขอบคุณครับ

kapomkab 2011-10-16 09:54
กล้องเดียวกล้องไม่ต้องมานั่งซิ้งภาพ ตัดเอาตามสตอรี่บอทเลยง่ายกว่าหลายกล้องอีกครับ

p0p-it 2011-10-16 10:06
เคยเห็นคนโพสไว้ ถ่ายหนังเมืองนอกต้องใช้ 2 กล้องอย่างตำ่ และในแต่ละซีนต้องถ่ายไม่ตำ่กว่า 4 เทค เพื่อเลือกเทคที่ดีที่สุด สำหรับในไทย สมัยก่อนค่าเช่า
กล้องแพงมาก ทำให้โปรดัคชั่นต้องประหยัดงบ โดยการใช้กล้องเดียว ( แต่ก็แลกมาด้วยงานที่มีคุณภาพ ได้ทุกความต้องการของเจ้าของงาน ) ...
..ปัจจุบัน ตัวกล้องก็ราคาถูกลงมากๆๆๆ รวมถึงค่าเช่าก็ถูกแสนถูก หลายโปรดัคชั่นก็ปรับวิธีการทำงานในแต่ละทีมไป...
  วิธี 1 - ผู้กำกับคนไหน ต้องการเน้นคุณภาพ ก็ยังคงใช้กล้องเดียวอยู่เหมือนเดิม...
  วิธี 2 - ผู้กำกับบางคนไม่เชื่อว่า มีเพียงวิธีที่ 1 เท่านั้น ที่ทำให้งานมีคุณภาพได้ ทำไมเราไม่ใช้หลายกล้อง แล้วเปลี่ยนวิธีการทำงานส่วนอื่นให้ดีขึ้น
             โดยปรับการทำงานให้เหมือนกล้องเดียว เช่น ปรับในส่วนของมุมกล้อง โดยให้กล้องแต่ละตัวทำงานอิสระเคลื่อนไหวได้เหมือนทำงาน
             แบบกล้องเดียว , ปรับในส่วนการตัดต่อ  (ให้เหมือนทำงานแบบกล้องเดียว ) ฯลฯ...
  วิธี 3 - ใช้แบบทั้งวิธี 1 - 2 มาผสมกัน คือเวลาถ่ายใช้หลายกล้อง เป็นมาสเตอร์ ( เล่นเหมือนจริง ) ข้อดีของการใช้หลายกล้องในการถ่ายจริง ทำให้ผู้แสดง
             เล่นง่ายขึ้นเพราะมีผู้ร่วมแสดงอยู่จริง และหากผิดพลาดส่วนใดในการถ่ายทำ ก็ยังคงมีสต๊อกของตัวแสดงทุกคนที่ถ่ายหลายกล้องไว้  และทุกซีนก็จะ
             มีการถ่ายทำซำ้อีกครั้งแบบกล้องเดียว แตกช็อตแยกเอาไว้อีกครั้งด้วยเหมือนกัน ( สำหรับซีนหลายกล้องอาจไม่ใช้ก็ได้ในภายหลังเป็นเพียงเผื่อไว้ )
...เหมือนถ่ายสารคดีในปัจจุบัน ก็จะมีกล้องไปถ่าย 2 ตัวขึ้นไป เพื่อช่วยในการทำงานเร็วขึ้น กล้อง 1 จับกว้าง , กล้อง 2 จับแคบ , แล้วมาแตกช็อตอีกครั้ง
   ถ้ามีเวลาให้ทำงาน แต่ถ้าไม่มีด้วยความจำเป็น ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย...( สำหรับซีนไม่สำคัญเป็นซีนผ่าน )
...น้องภาพนิ่งในปัจจุบัน ก็ปรับตัวตามพี่ๆเช่นกัน ไปถ่ายภาพคู่นอกสถานที่ เดี๋ยวนี้เห็นมี 3-4 กล้อง ช่วยกันรุม...
   - กล้อง 1 ใช้เลนส์ฟิสอาย
   - กล้อง 2 ใช้เลนส์เทเล่แคบหลังละลาย
   - กล้อง 3 ใช้เลนส์พรอทเทรทใกล้
   - กล้อง 4 ใช้เลนส์ไวล์กว้าง
     เรียกว่า แอ๊คชั่นในครั้งหนึ่ง มีภาพ 4 รูปแบบให้ลูกค้าเลือก บางภาพกว้างอาจไม่สวยแต่ใกล้ใช้ได้ หรือบางภาพฟิสอายน่ารักกว่ามุมธรรมดาฯลฯ...
     และเชื่อว่าต่อไปคงได้เห็นการทำงานแบบนี้ คือใช้หลายกล้องถ่ายในซีนเดียว และได้ภาพหลายแบบในการทำงานเพียงครั้งเดียว ..
     ทังนี้....ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้กำกับและทีมงานช่างภาพแต่ละทีม...ของแบบนี้ทางใครทางมัน เลียนแบบกันไม่ได้คับ...
    

nakas 2011-10-16 11:09
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

maleehuana09 2011-10-16 13:47
ขอบคุณครับอ่านทุกคอมเม้นแล้วได้ความรู้อีกมากมายครับ

bryan 2011-10-16 13:55
ถ้ามันเป็นฉากแอ็คชั่นที่เกี่ยวกับเอฟเฟ็คมากๆก็น่าใช้กล้องหลายตัวอยู่นะครับ  เพราะ มันเปลืองระเบิด ถ้าจะต้องถ่ายหลายรอบอ่ะ 55

monkeymagic 2011-10-16 16:00
ชัดเลย "เพราะตาคนเรา  ไม่มีเฟรมเรท"

noomrytv 2011-10-16 17:09
อืม!!!!ลึกซึ่ง

tanum 2011-10-16 21:54
อ้างอิง
การจะเลือกใช้เฟรมเรทใด ของกล้อง DSLR  ก็ต้องคำนึงถึงระบบไฟฟ้าที่ใช้จัดแสงด้วย   ว่าการกระพริบของแสงไฟ  มันซิงค์กับเฟรมเรทที่เลือกใช้หรือไม่    หากถ่ายด้วยไฟฟลูออเรสเซ้นต์  ที่ใช้บัลลาสธรรมดา 50Hz    แล้วตั้งเฟรมเรทกล้องเป็น  24 fps  จะเห็นชัดเลยว่า ภาพมีริ้วๆแสง เลื่อนขึ้นตลอดเวลาที่ใช้ไฟดวงนี้  ก็ควรเปลี่ยนเป็น  25 fps   หรือ  50 fps  ซะ  ถ้ายังเป็น Progressive  25p  50p  มันก็จะยังให้การเคลื่อนไหวที่เหมือนกล้องภาพยนตร์อยู่ ไม่จำเป็นต้อง 24 fps   ไม่เชื่อลองดู   ... แต่ถ้าจำเป็นต้องถ่ายที่ 24 fps   ก็ต้องเปลี่ยนไฟครับ  มาใช้เป็น แบบ ฟลิกเกอร์ฟรี   หรือไฟที่ใช้บัลลาสอีเล็กทรอนิกส์ ความถี่สูงกว่า 200 Hz ขึ้นไป  ก็จะซิงค์ได้ทุกเฟรมเรท
.......




อันนี้รู้สึกจะไม่ใช่เท่ใดนักนะครับ การกระพริบไม่ได้เกิดขึ้นจากเฟรมเรทเท่าใดนะครับ แต่เกิดขึ้นจากความไวชัตเตอร์ครับซึ่งมันต่อเนื่องเกี่ยวข้องกันครับ


ว่ากันคร่าวๆนะครับ เฟรมเรทที่ใช้กันทั่วโลกส่วนใหญ่มีอยู่ 2อันครับ คือ


1.   24เฟรม ใช้สำหรับภาพยนต์ เพราะว่าเครื่องฉายภาพยนต์วิ่งอยู่เท่านี้ (จริงๆมันคือ 23.976)
2. ในประเทศที่ใช้ไฟ ความถี่ 50Hz ซึ่งจะเป็นไฟ 220โวลต์ จะใช้การออกอากาศเป็นระบบ PAL 25fps หรือ50i (50P ไม่มีนะครับ) เช่นประเทศไทย ประเทศในยุโรป
3. ประเทศที่ใช้ไฟ 110โวลต์ 60Hz จะใช้การออกอากาศเป็น NTSC 30 fps หรือ 60i ครับ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา เป็นต้น

ทีนี้จะถามว่า ทำไมต้องใช้เฟรมเรทแบบใดเนี่ย อธิบายกันด้วยวิชาฟิสิกส์ครับ ซึ่งผมสอบตก 55 แต่ก็พอจำได้มาคร่าวๆว่า

ภาพยนต์ 24เฟรม ใช้เครื่องฉายเป็นแบบโปรเกรสซีฟ หมุนฟิล์มผ่านหลอดไฟให้ไปเกิดภาพ มันไม่มีผลอะไรเกี่ยวกับกำลังไฟครับ ยกยอดไป

25 กับ 30 เนี่ย มันมีผลในเครื่องฉายภาพครับ ซึ่งก็คือ โทรทัศน์นั่นเอง เพราะเมื่อก่อน มันเป็นระบบหลอดภาพ ซึ่งมีผลกับความถี่ของกระแสไฟฟ้าครับ ลองกลับไปสังเกตุดูว่า จอมันจะกระพริบครับ ลึกๆเนี่ย ผมจำไม่ได้แล้วว่าเป็นอย่างไร แต่เอาเป็นว่า ถ้าฉายในทีวีรุ่นเก่าที่เป็นหลอดภาพเนี่ย ถ้าเกิด เฟรมเรทไม่ตรง มันจะฉายไม่ได้ครับ เพราะจังหวะการกระพริบมันจะไม่ตรงกัน ต้องมีวิธีแก้อีกมากมาย ส่วนในปัจจุบันนั้น จอเปลี่ยนเป็น LED LCD ซึ่งปัญหาตรงนี้ก็ไม่มีแล้ว

จากเฟรมเรท ก็จะมาถึง ความไวชัตเตอร์ครับ มันมีกฏข้อนึงที่ว่า ความไวชัตเตอร์จะต้องมากกว่า เฟรมเรทเสมอ (หรือ2เท่า ผมไม่แน่ใจครับ ลืมไปแล้ว) ดังนั้น ถ้าในกล้องแคนนอน ถ้าเราถ่ายที่ 24 25 30 ชัตเตอร์จะได้ต่ำสุดที่ 1/30 ครับ ถ้าถ่ายที่ 50 หรือ 60 เฟรม ชัตเตอร์ต่ำสุดจะได้อยู่ที่ 1/60ครับ


ทีนี้ก็เกิดปัญหาหละสิ ถ้าอยากถ่ายที่ 60เฟรมแบบ โปรเกสซีฟ เพื่อเอามาเปลี่ยนเป็น 24เฟรม ให้มันสโลว์เนี่ย แต่ชัตเตอร์มันดันเป็น 1/60 เอ๊ะ ไฟบ้านเรามันเป็น 50Hz นี่นา ไม่มีเงินเช่าฟริคเกอร์ฟรีด้วยสิ(แพงมาก) มีเงินใช้แค่หลอดออสแรมแปะแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด ก็พอมีวิธีครับ เราก็ขยับชัตเตอร์ขึ้นไปสิ ให้มันหารแล้วลงตัวพอดีกับ50 ก็ เป็น1/100ไงหละ 


อ๊ะๆ 1/150หรือเกินนั้นขึ้นไปใช้ไม่ได้นะครับ แม้ว่ามันจะหารลงตัวก็ตาม เพราะว่า ความไวชัตเตอร์มันสูงเกินการกระพริบของหลอดไฟไปแล้วครับ


คร่าวๆประมานนี้ ตกหล่นผิดพลาดอันใด เสริมได้แก้ได้ครับ แต่แค่อยากจะบอกว่า เฟรมเรทไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการเกิดฟริคเกอร์ หรือการกระพริบเป็นริ้วครัว ใช้เท่าไหร่ก็ได้ แค่ใช้ค่าชัตเตอร์ให้มันถูกต้องมันก็จะไม่กระพริบแล้วครับ


แต่ในขั้นตอนการฉายก็เป็นอีกเรื่องนึงครับ 

kgb 2011-10-17 03:23
คนสมัยนี้เข้าใจผิดเรื่อง Filmlook กันมากครับ ไม่จำเป็นต้องเป็น 24P ก็ได้ครับ ที่ฟิล์มใช้ 24 fps ก็เพราะมันเป็นเรทที่ต่ำที่สุดเท่าที่สมองมนุษย์จะแยกออกว่าเป็นภาพเคลื่อนไหวครับ ย้ำว่ามันเป็น "เรทต่ำสุด" นะครับถ้าใช้เยอะกว่านี้ 50 fps 60 fps 100 fps 200 fps 1000 fps มันก็จะดูลื่นขึ้นครับ แต่มันไม่จำเป็น เพราะตามนุษย์สามารถแยกได้ตั้งแต่ 24 fps แล้วครับ จะเปลืองฟิล์มกันไปทำไม ไม่ได้เอามาทำสโลว์ซะหน่อย

ที่ TV แพงๆ เครื่องเล่นแผ่นแพงๆ สมัยนี้สามารถถอดรหัส 24 fps ได้ก็เพราะว่าหนังบางเรื่องมันยังใช้ฟิล์มจริงๆ ถ่ายอยู่ครับ และเขาก็ยังคงใช้ที่ 24 fps กันอยู่ และบางเรื่องก็เทเลซีนลงมาแบบ 24 fps เลยเท่านั้นเองครับ มันไม่ได้ทำให้ภาพเนียนกว่า 25 fps เลยแม้แต่นิดเดียว ไม่เชื่อลองถ่ายมา 2 แบบทั้ง 24P และ 25P ให้ใครก็ได้ดู เชื่อว่าไม่สามารถบอกได้ครับว่าอันไหน 24 fps อันไหน 25 fps

เชื่อว่าการที่ Canon ใส่ความสามารถในการถ่ายที่ 24 fps มาให้ก็เพราะว่า "เผื่อ" ใช้ร่วมกับฟิล์มจริงครับ

ใจความใหญ่ๆ ของ Filmlook คืออารมณ์ของภาพกับภาษาของภาพครับ นอกนั้นพวก แกมม่า โทน อะไรใดๆ เป็นแค่การตกแต่งครับ ถ้าเรายังอยู่เมืองไทย ถ่ายที่เมืองไทย และใช้งานผลงานชิ้นในที่ประเทศไทย ถ่ายที่ 25P ดีกว่าครับ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องแปลงกลับไปกลับมาเพื่อดูบนโทรทัศน์บ้านเรา

ขอโทษหากความเข้าใจของผมผิดไป แต่จริงๆ มันเป็นอย่างนั้นครับ

nakas 2011-10-17 13:31
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

nakas 2011-10-17 13:47
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

nakas 2011-10-17 13:53
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

tanum 2011-10-17 14:12
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 14 ต้นฉบับโพสโดย nakas เมื่อ 2011-10-17 13:31  :



ในการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม 35 มม  ไม่มีความไวชัตเตอร์ครับ  มีแต่เฟรมเรท กับองศาชัตเตอร์  ที่จะกางกว้าง หรือแคบเท่าไหร่  แต่ส่วนใหญ่ก็กางกันกว้างสุด 180 องศา   เรื่องการกระพริบของแสงไฟ จึงสำคัญมากๆ   ส่วน 50p  มีครับ  กล้องระดับบนๆ ไฮเอนมีครับ ถ่ายโพรเกรสซีฟได้ทุกเฟรมเรทเลย  48p  49p  50p  51p  52p  ปรับกันละเอียดเพิ่มลดทีละ0.001เฟรมเลย  เหมือนกล้อง 35 มม ครับ ตั้งที่เฟรมเรทอะไรก็ได้  ในช่วงที่ระบุในสเป็คของกล้องตัวนั้นๆ 

.......




ใช่ครับถ้านับอย่างนั้น 50P มีแน่นอนครับ และมีมากไปถึง เป็นร้อยเป็นพันครับ


แต่อย่าลืมว่า ในเฟรมเรทเหล่านั้น มันไม่ได้เอามาใช้งานในการฉายจริงครับ เพราะจะต้องเอามาเปลี่ยนเป็นค่าเฟรมเรท 3 ค่า คือ 23.976   25/50   29.397/60  เพื่อเอามาใช้งานครับ จะไม่นิยม(ผมก็ไม่เคยได้ยินใครเรียก50P นะ) จะเรียกเป็น fps กันครับ เพราะว่า p ย่อมาจาก progressive และ i ย่อมาจาก interrective ส่วนค่าเฟรมเรทจะเรียกเป็น fps ย่อมาจากFrame per sec (เฟรมต่อวินาที) ซึ่งมันเป็นคนละความหมายอย่างสิ้นเชิงครับ ถ้ามาเรียกอย่างนี้ งงกันตายครับ


แล้วก็ องศา ที่ปรับนั่น ถ้าผมจำไม่ผิดอีกเช่นกัน มันเป็นการปรับองศาของม่านชัตเตอร์แบบกลิ้ง หรือ Rolling shutter ซึ่งมันก็คือม่านชัตเตอร์ชนิดหนึ่ง 180องศานี่ ถ้าจำไม่ผิดอีกรอบ จะเท่ากับ1/48 นะครับ อันนี้ไม่ชัวร์ ต้องรอผู้รู้มาแถลงอีกที แต่ผมยืนยัน นั่งยัน นอนยันว่า ยังไงกล้องต้องมีม่านชัตเตอร์แน่นอนครับ


ปล.ในลิ้งค์ที่ให้มาลองเซ็ต ผมเข้าไปลองมาแล้ว ก็ยังมีคำว่าชัตเตอร์นะ



gigapixel 2011-10-17 14:22

tanum 2011-10-17 14:39
อันนี้จะบอกว่า กล้องฟิล์มมันมีม่านชัตเตอร์นะ แม้จะเป็นคนละรุ่นแต่หลักการทำงานมันเหมือนกัน

อ่ะ เข้าไปลองเซ็ตมาแล้ว มันก็ยังมีม่านชัตเตอร์

ซึ่งการเซ็ตจะต่างกันนิดหน่อยคือ องศา ต้องสัมพันธ์กับเฟรมเรทครับ ถ้าผมจำไม่ผิด

[attachment=9866]

เห็นมั๊ย อเล็กซ่า ใช้คำว่า ชัตเตอร์ด้วย

victormc49 2011-10-17 14:49
มาดูชาวบ้านเถียงกัน

tanum 2011-10-17 14:51
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 20 ต้นฉบับโพสโดย victormc49 เมื่อ 2011-10-17 14:49  :
มาดูชาวบ้านเถียงกัน  




ไม่ได้เถียง แต่ถกความรู้ รื้อฟื้นหน่อย ไม่ได้ใช้นานแล้ว เดี๋ยวลืมหมด


เตอร์ขอข้อมูลหน่อย ยังจำได้ป่าวว่ามีอะไรบ้าง

bryan 2011-10-17 15:09
เข้ามาดู สู้ๆครับ อย่าปล่อยให้เกิดความเข้าใจผิดๆต่อไป

rotcerid 2011-10-17 15:16
กล้องฟิลม์ แบบ ภาพนิ่ง ความเร็วชัตเตอร์คือการควบคุมความคมชัดของการถ่ายรูปอย่างนึง เปิดชัตเตอร์สูงๆเพื่อจับความเคลื่อนไหวเร็วๆได้อย่างคมชัด หรือ ลดการสั่นไหวของมือ การถ่ายรูปหนึ่งครั้งด้วยความเป็นภาพนิ่ง ความช้าเร็วของประตูฟิลม์ที่ยกให้แสงเข้ามากระทบกับฟิลม์เพื่อทำให้เกิดภาพนานเท่าใด เรียกว่า สปีดชัตเตอร์

กล้องฟิลม์ แบบ ถ่ายหนัง ความเร็วของสปีดชัตเตอร์ไม่มี เพราะการถ่ายหนังประตูฟิลม์ถูกยกขึ้นค้างไว้ เพื่อให้ฟิลม์วิ่งผ่านแสงที่รอดเข้ามาตามความเร็วที่ตั้ง ความเร็วที่ว่าเรียกเฟรมสปีด fps  ปกติอยู่ที่ 24 ถ้าจะจับความเคลื่อนไหวเร็วให้คมชัด เขาจะเรียกว่าถ่าย ไฮสปีด มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น ฟิลม์วิ่งเร็วขึ้น เปลืองมากขึ้น โปรดิวเซอร์ก็จะพูดมากขึ้น

แล้ว ชัตเตอร์ ไปไหน ในกล้องถ่ายหนังระบบฟิลม์ ชัตเตอร์จะทำหน้าที่เป็นองศา คือองศาของใบชัตเตอร์ที่วิ่งอยู่ในนั้นอะไรซักอย่างเนี่ย ทำหน้าที่คล้ายๆชัตเตอร์ภาพนิ่ง แต่เพียงเปลี่ยนหน้าการยกขึ้นลง เป็นบิดใบพัดให้เกิดการตกกระทบของแสงในการเข้าสู่ฟิลม์ เพื่อให้มีความคมชัดมากขึ้นในรายละเอียดสูงสุดระเบิดทีเห็นเม็่ดดิน หรือ เกิดโมชั่นเบลอสั่นไหวเหมือนวิญญาณ

ส่วน กล้องดิจิตอลแบบภาพนิ่ง และ แบบถ่ายหนัง ชัตเตอร์กลายเป็นอิเล็คโทรนิคชัตเตอร์ หาไม่เกิดจากการควบคุมความเร็วการยกประตูฟิลม์ หรือ เป็นใบพัดหักเหแสงเหมือนองศาชัตเตอร์ มันถูกออกแบบให้เป็นค่าตัวเลข01ผกผันกับเซ็นเซอร์รับภาพในแบบการคำนวญการให้เกิดภาพแบบอิเล็คโทรนิค แต่ใชัหลักอ้างอิงมาจากระบบฟิลม์ ชัตเตอร์สูงคมชัด ชัตเตอร์ต่ำโมชั่นเบลอ ปัญหาที่เกิดจากชัตเตอร์ดิจิตอล จะได้ยินบ่อยๆเวลาเกิดฟีลภาพ "ทำไมภาพมันเปนฟีลๆวะ " คงคุ้นเคยกันดี

ส่วนเรื่องการกระพริบของหลอดไฟ หรือ ทีวี หรือ คอม ถ้าตาคนเราตั้งชัตเตอร์ได้ เราก็เห็นทุกอย่างกระพริบได้ เพราะมันกระพริบอยู่ตลอดเวลาแหละ พวกค่าต่างๆที่เขาค้นคว้าพัฒนากันมาเป็นเกณฑ์ที่ให้เราได้ใช้กันขนาดนี้ ก็ใช้ความเร็วในการรับแสงกระพริบของสิ่งพวกนั้นจากตามนุษย์เป็นหลัก ทำไมหนังต้องถ่าย 24 ก็เพราะว่าตอนขึ้นตอนสุดท้ายที่ฉายหนังให้เราดูในโรงหนัง ตาเรารับภาพในความเร็ว 24 เฟรม นั่นเอง

พวกสาวก 24 25 30 50 60 เกิดจากความชอบส่วนบุคคล สุดท้ายมันถูกแยก เพราะระบบฉายทั้งนั้นแหละ ระบบFilm ระบบPal ระบบNtsc เพื่อรองรับสิ่งที่ ตามนุษย์รับได้สมบรูณ์ที่สุด  

ความเข้าใจจาก ประสปการณ์ส่วนตัวล้วนๆนะ ไม่ได้อ้างอิงที่ไหน

    

motion-a 2011-10-17 15:57
เพิ่มเติมความรู้ (ที่มีอยู่)
Shutter Angle
http://en.wikipedia.org/wiki/Shutter_angle

nakas 2011-10-18 12:51
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

nakas 2011-10-18 12:52
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

impeus 2011-10-18 13:51
เสริมเรื่องเฟรมเรทนะครับ
จริงๆ แล้วที่ใช้ 24fps อยู่ปัจจุบันนี้ มีผู้กำกับหลายคนกำลังจะก้าวข้ามไปละครับ

The Hobbits ปีหน้าจะเริ่มฉายในระบบ 48FPS เพราะว่าจะให้โมชั่นเบลอที่น้อยกว่า และภาพสมูทกว่า 24 fps
ส่วนเมื่อก่อน ผู้กำกับภาพเรื่อง 2001 : A space Odyssey เค้าคิดจะถ่ายหนังเรื่องนี้และฉายด้วยเฟรมเรท 120 FPS เพื่อให้ความรู้สึกตื่นเต้น

โดยมีผลการทดลองจาก  Douglas Trumball (คนๆ นี้เป็นตากล้องให้หนังดังๆ อย่าง 2001, Blade Runner, Close Encounter) กับนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองกล่าวว่า คนเราจะรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้ชมภาพอัตราส่วน 66 FPS ขึ้นไป

ซึ่งตอนนี้ในอนาคต ทั้งจอร์จลูคัส, เจมส์ คาเมรอน เองก็จะขยับไปใช้เฟรมเรทที่สูงขึ้นเช่นกัน
อ้างอิง http://nofilmschool.com/2011/04/peter-jackson-shoots-the-hobbit-48-fps/

nakas 2011-10-18 14:06
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

tanum 2011-10-18 23:27
The primary reason that cinematographers adjust the shutter angle is to control the amount of motion blur that is recorded on each successive frame of film. A tight shutter angle will constrict motion blur. A wide shutter angle will allow it. A 180° shutter angle is considered normal.
So for instance, at 24p (actually 23.976 frames per second) the "Frame Interval" value is 0.04171 sec. ( = 1 / 23.976 ). Using an "Exposure Time" of 1/50 sec we get a "Shutter Angle" value of 173°, very close to 180° (normal motion blur effect).
This is the reason of the rule-of-thumb "Use an Exposure Time twice the value of the Frames-per-second to get normal motion blur".
Tight shutters create a stuttering stop motion animation look that has become popular in action and war films. In particular, tight shutters are used to capture particles flying through the air, such as dirt from an exploding mortar.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากข้อความใน วิกิที่พี่เอเอามาให้ดู ชัตเตอร์กล้อง จะมีความไวโดยคำนวนจากค่าองศา ซึ่งสุดท้าย ค่าองศาที่เปิดกับเฟรมเรท จะคำนวนออกมาเป็น ค่าความไวในการเปิดแสงได้ ถูกต้องมั๊ยครับ

ส่วนที่ผมอ้างอิงว่า 50P ไม่มี เพราะว่าในการออกอากาศจริงนั้น มันยังทำได้ไม่ทั่วถึงครับ จะมีก็เครื่องเล่นเฉพาะเท่านั้น ในเครื่องเล่นตามท้องตลาด หรือการออกอากาศ เท่าที่สมองอันน้อยนิดของผมจดจำได้มันยังไม่มี จะมีก็คือ ออกอากาศเป็น interective คือการเอา2เฟรมมาสแกนสลับกันเท่านั้น

หนังที่จะฉาย 48p ในปีหน้าเนี่ย ผมก็ยังไม่รู้ว่าตอนออกฉายจริงจะฉายแบบ 48p ได้ซักกี่โรง จะมีโรงไหนบ้างที่รองรับกับเทคโนโลยีอันนี้ได้(ยกเว้นสามมิติ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับสามมิติเลย) ซึ่งผมก็ค่อนข้างมั่นใจว่า หนังที่จะออกฉายส่วนใหญ่ จะถูกแปลงกลับมาเป็น 24p เหมือนเดิม

nakas 2011-10-19 00:41
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!

shortfilm 2013-01-26 12:30
ความรู้ทั้งนั้น

ikkue 2013-02-03 22:50

aboy 2014-02-10 10:22
ขอบคุณครับ

jaysoundman 2014-02-19 17:40
ขอค้านคุณ  rotcerid ครับ ข้อความที่ว่า " กล้องฟิลม์ แบบ ถ่ายหนัง ความเร็วของสปีดชัตเตอร์ไม่มี เพราะการถ่ายหนังประตูฟิลม์ถูกยกขึ้นค้างไว้ เพื่อให้ฟิลม์วิ่งผ่านแสงที่รอดเข้ามาตามความเร็วที่ตั้ง ความเร็วที่ว่าเรียกเฟรมสปีด fps  ปกติอยู่ที่ 24 ถ้าจะจับความเคลื่อนไหวเร็วให้คมชัด เขาจะเรียกว่าถ่าย ไฮสปีด มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น ฟิลม์วิ่งเร็วขึ้น เปลืองมากขึ้น โปรดิวเซอร์ก็จะพูดมากขึ้น "

      สำหรับกล้องฟิล์มที่ใช้ถ่ายหนังนั้น ประตูฟิล์มที่ว่าไม่ได้ยกขึ้นค้างตลอดเวลานะครับ มันจะเปิดปิดตลอดเวลาตามเฟรมเรทของกล้อง ลองไปเซิทดูกลไกในกู้เกิ้ลเอาเองนะครับ ถ้าตั้งเฟรมเรทไว้ที่24/วิ มันก็จะเปิดปิด24ครั้งเท่ากับเฟรมเรท เพื่อแบ่งแสงที่ตกกระทบฟิล์มในเป็นเฟรมภาพ เพราะถ้าประตูฟิลม์เปิดค้างตลอดเวลา ภาพจะดูไม่ได้เลย มันจะเหมือนกับกล้องถ่ายรูปที่ตั้งสปีดชัตเตอร์ต่ำๆ ภาพจะวิ่งเป็นเส้นๆเหมือนแกว่งธูป แล้วภาพบนแผ่นฟิล์มก็จะไม่เป็นเฟรมสี่เหลี่ยม16:9 เพราะมันถูกแสงตกกระทบอยู่ตลอดเวลาไงครับ  แล้วการถ่ายแบบไฮสปีด 50-1,000เฟรม/วิ เขาไม่ได้ถ่ายเพื่อให้ภาพคมชัดขึ้นครับ แต่มันคือการถ่ายเพื่อไปทำภาพสโลว์( Slowmotion ) เช่นถ่ายลูกกระสุนปืน ถ่ายน้ำกระเซ็น ถ่ายตีลังกา กระโดดบู๊สู้กัน หรือถ่ายหน้าตอนน้ำตาไหล ที่ต้องปรับเป็นไฮสปีดหรือใช้กล้องไฮสปีดในกรณีที่ต้องการสปีดสูงมากๆ ก็เพราะว่าถ้าถ่ายด้วยเฟรมเรท 24/วิ แล้วไปทำสโลว์ในห้องตัดภาพมันจะกระพิบยังไงล่ะครับ จึงต้องถ่ายด้วยสปีดสูงๆแล้วไปเพลย์ด้วยสปีดที่ 24/วิ จึงจะได้ภาพสโลว์ตามที่ต้องการโดยภาพไม่กระพริบครับกระผม             

      จากคำถามของ จขกท. ทำไมหนังถึงใช้กล้องเดียว มันเกี่ยวกับคุณภาพของงาน ดังนี้
      1.จัดแสงง่ายขึ้นและสวย ไม่ต้องย้ายไฟหลบกล้องตัวอื่นๆ การจัดไฟซัพพอตต์กล้องหลายๆตัวนั้น มันทำให้ทิศทางแสงมันมาจากหลายทาง ไม่สมจริงแบบธรรมชาติ เวลาทำละครจะสร้างจัดไฟส่องหน้านักแสดง ซึ่งจะวางตามไลน์กล้องทั้ง 3 ตัว ทำให้แสงในภาพสว่างขาวไปหมด
       2.ได้แอคติ้งและรีแอคติ้งของนักแสดงครบทั้งซีน ทำให้ตัดต่อได้ง่ายขึ้นได้อารมณ์ของภาพทั้งหมด ไม่ถูกตัดทิ้งเป็นบางจังหวะเหมือนระบบสวิตช์เชอร์ของละคร
       3.เวลาใช้กล้องแฮนด์เฮล(แบกบ่า) ถ้ามีกล้อง2ตัวขึ้นไป มันต้องพยาหลบกันเองอีก จะบุกเข้าไปใกล้ๆนักแสดงพร้อมกันลำบาก
       4.หนังทุกเรื่องส่วนใหญ่จะใช้การถือกล้องแบบแฮนด์เฮล(แบกบ่า)กับใช้สเตดิแคมบ่อยครั้ง ทำให้การใช้กล้องตัวเดียวสะดวกที่สุด ไม่ต้องมาหลบกล้องกันเอง
       5.กล้องถ้าใช้ฟิล์มม้วนใหญ่สุดคือแบบ 1,000 ฟิตจะถ่ายต่อเนื่องได้ 11นาที ซึ่งราคาม้วนละ 8,000 บาท ถ้าใช้ 2ตัวขึ้นไป แล้วถ้านักแสดงเล่นแล้วเทค ทำให้เสียเนื้อฟิล์มไป 2 เท่าครับ และอีกอย่างกล้อง2ตัวกดเรคคอร์ดฟิล์ม และกดหยุดเรคคอร์ดฟิล์มไม่พร้อมกันแน่นอน มันจะเกิดส่วนต่างของเวลาที่เหลือที่ใช้เรคคอร์ดได้ของกล้องทั้ง 2ตัว ทำให้กล้องตัวใดตัวหนึ่งฟิล์มจะหมดก่อนเพื่อน ทำให้เกิดปัญหาในการถ่ายทำครับ เพราะเวลาถ่ายหนังจริงๆผู้ช่วยกล้องอันดับสองจะคอยดูมิเตอร์ของฟิลม์อยุ่ตลอดเวลา ว่าเหลือเท่าใดและจะแจ้งทีมงานว่าถ่ายได้อีกกี่นาที เพราะต้องโหลดฟิล์มใหม่ เป็นผมผมก็ใช้กล้องตัวเดียวนะ
       หนังไทยเดี๋ยวนี้นิยมใช้ 2ตัวเพื่อรับภาพนักแสดง 2ฝั่งในเวลาเดียวกันส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใช้ฟิล์มถ้างบประมานต่ำ และการใช้กล้อง 2ตัวจะเห็นเลยว่าแสงไม่สวยเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะเป็นหนังธรรมดา หนังวัยรุ่นหรือหนังคอมมาดี้พวกรวมตลกเล่นเยอะๆ แต่ถ้าเป็นหนังฟอร์มใหญ่ๆอย่างนเรศวร จะใช้กล้องฟิล์มตัวเดียวครับ แสงและภาพจะสวยมากครับ
        ตอบแค่นี้ก่อนนะครับ บางอย่างอาจจะซ้ำกับคนอื่น

      

u-inter 2016-03-15 03:11
กระทู้ดีๆแบบนี้เดี๋ยวนี้ทำไมไม่มีเลย


เวอร์ชันเต็ม: [-- ถ้าได้สร้างภาพยนตร์จะใช้กล้องถ่ายกี่ตัวครับ --] [-- top --]


Powered by phpwind v8.3 Code ©2003-2010 phpwind
Time 0.014198 second(s),query:2 Gzip enabled