เวอร์ชันเต็ม: [-- ห้องเรียนหนังตอนที่ 2 ภาพยนตร์คืออะไร --]

ThaiDFilm : ถ่าย VDO DSLR และ ตัดต่อ หนังสั้น -> ห้องเรียนหนังออนไลน์ -> ห้องเรียนหนังตอนที่ 2 ภาพยนตร์คืออะไร [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

foolmoon 2012-01-25 11:37

ห้องเรียนหนังตอนที่ 2 ภาพยนตร์คืออะไร

ห้องเรียนหนังออนไลน์ 2


ภาพยนตร์คืออะไร

คนที่ผมรู้จักหลายคนอยากทำหนัง การเป็นผู้กำกับเป็นความใฝ่ฝันหนึ่งในชีวิต ไม่มีใครรู้ว่ามันเริ่มต้นมาอย่างไร มันอยากเป็นตอนไหน หรือว่าเป็นแล้วจะได้อะไร แต่ผมเชื่อว่าทุกคนมีคำตอบของคำถามนี้ครับ

บางคนอยากเป็นเพราะว่ามีเรื่องที่อยากเล่า

บางคนอยากเป็นเพราะว่าชอบดูหนังและอยากลองทำหนังในรูปแบบของตัวเองบ้าง

บางคนอยากเป็นเพราะว่าพ่อเป็น โคตรเหง้าทำอาชีพนี้กันมาทั้งตระกูล  

เชื่อว่าหลายคนประสบปัญหามากมายกับการเขียนบท และสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหานั้นก็คือ เราไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร และเขียนอย่างไร และจะเริ่มต้นมันได้อย่างไร ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาหนักอกทั้งบรรดาคนเขียนบทรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่าก็ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญหน้ากับมันทั้งนั้น

ดูแล้วเหมือนว่ามันจะน่ากลัวมาก แต่จริงๆแล้วมันมือเครื่องมือในการช่วยเราอยู่เต็มไปหมดครับ

แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับเครื่องมือ เราไปรู้ก่อนดีกว่าว่า บทภาพยนตร์มันคืออะไร

บทภาพยนตร์คืออะไร....


แต่ก่อนจะรู้อีกว่าบทภาพยนตร์คืออะไร เราต้องรู้ก่อนอีกว่า ภาพยนตร์คืออะไร

ภาพยนตร์นั้นถ้าแปลอย่างตรงตัวตามพจนานุกรม จะได้ความว่า

"ภาพฉายด้วยเครื่องทําให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้, หนังฉาย"

นั่นคือความหมายแบบเป็นทางการในภาษาไทย เรามาดูความหมายของพวกฝรั่งมังค่าต้นตำหรับของการสร้างภาพยนตร์กันบ้างครับ

A film, also called a movie or motion picture, is a series of still or moving images. It is produced by recording photographic images with cameras, or by creating images using animation techniques or visual effects. The process of filmmaking has developed into an art form and industry.

แปลได้ความว่า ภาพยนตร์ คือ ชุดของภาพนิ่งที่ทำให้เคลื่อนไหว กระทำได้โดยการบันทึกด้วยกล้อง หรือการสร้างโดยการใช้ภาพนิ่งๆที่ผ่านกระบวนการอนิเมชั่นหรือการใช้วิชวลเอ็ฟเฟ็กท์(เทคนิคพิเศษทางภาพ) ซึ่งกระบวนการแบบภาพยนตร์นี้มีทั้งการใช้ในรูปแบบของงานศิลปะ และงานอุตสาหกรรม


ส่วนที่เราเรียกภาพยนตร์ว่าหนังนี่เพราะว่าหลักการของภาพยนตร์เมื่อแรกเริ่มเข้ามา มันจะเหมือนกับมหรสพอีกอย่างของบ้านเรานั่นคือการเล่นหนัง (นึกถึงหนังตะลุงไว้ครับ ที่เราต้องทำตัวหนัง แล้วใช้แสงเป็นตัวฉายขึ้นบนจอ) แต่ภาพยนตร์คือการฉายแสงผ่านฟิล์มที่วิ่งเร็วในอัตราส่วน 24 ภาพต่อ 1 วินาที (เพราะว่าเป็นความเร็วที่ทำให้เราเกิดภาพลวงตาที่ทำให้เราเห็นภาพนิ่งเหล่านั้นกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว เมื่อภาพยนตร์เข้ามาในเมืองไทย คนบ้านๆอย่างเราจึงเรียกภาพยนตร์ว่าหนังนั่นเองครับ


สำหรับห้องเ้รียนในวันนี้ จะเป็นการมาช่วยกันหาข้อมูลกันในเรื่องของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์กันดีกว่าครับ

ว่าภาพยนตร์ที่มันเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ มันมีึความเป็นมาอย่างไร และมีแง่มุมที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง รวมถึงประวัติภาพยนตร์ในไืทยด้วยเช่นกัน โดยให้ทุกคนไปทำการหาข้อมูลในแง่มุมที่ตนเองสนใจ และนำมาพรีเซนท์ โดยที่รูปแบบในการพรีเซนท์ก็แล้วแต่ครับ จะพิมพ์มาเล่าสู่กันฟัง จะเขียนเป็นเหมือนนิยายเรื่องสั้น เป็นรูปแบบบทรายการ การ์ตูน จะถ่ายมาเป็นวีดิโอแล้วโพสต์ จะเป็นรายการวิทยุ จะเป็นไทม์ไลน์ ได้หมดตามความคิดสร้างสรรค์ครับ

ข้อแม้มีสามข้อครับ


ข้อแรก สิ่งที่ทำมาควรจะแปะลงช่องตอบกลับด้านล่างไ้ด้เลย ไม่ต้องไปดาวน์โหลดที่ใด เพื่อให้เพื่อนๆได้อ่านหรือได้ดูกันได้ง่ายๆครับ

ข้อสอง การบ้านชิ้นนี้ขอส่งวันอาทิตย์ ก่อนเที่ยงคืนถ้าเป็นไปได้ครับ

ข้อสาม เมื่อมีคนมาโพสต์แล้ว ใครถูกใจ เพิ่มคะแนนให้เพื่อนๆด้วยครับ ถ้ามีประ้เด็นในการพูดคุยหรือแสดงทรรศนะคติ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงครับ


หวังว่าการบ้านคงไม่ยากจนเกินไปนะครับ ก่อนที่เราจะทำอะไรซักอย่าง ควรจะสัมผัสไปถึงรากของสิ่งนั้นซักนิดนึงนะครับ

job4922 2012-01-27 02:41
ผมลองหาข้อมูลความเป็นมาของภาพยนตร์ดูแล้ว แต่ที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายที่สุดสำหรับผมคงเป็นอันนี้ ผมไม่ได้ยกมาทั้งหมดนะครับ ยกมาเฉพาะส่วนที่จะใช้ในการตอบการบ้านครับ

ภาพยนตร์เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว(Motion Picture) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพนยตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ด้วยคุณลักษณะพิเศษของภาพยนตร์ที่สามารถแสดงให้เห็นภาพและเสียงอันน่าสนใจ ภาพยนตร์จึงเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทและอิทธิพลในด้านต่างๆ เป็นอย่างสูงมาตลอดเวลานับร้อยปี
ประวัติความเป็นมาของภาพยนตร์
กำเนิดภาพยนตร์ของโลก
ภาพยนตร์ที่ถือว่าเป็นต้นแบบของภาพยนตร์ในปัจจุบันคิดประดิษฐ์ขึ้นโดย โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" เพราะต้องดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้ชมภาพยนตร์แบบนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้นำมาถวายให้ทอดพระเนตรเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ในปี พ.ศ. 2439
ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ สำหรับดูพร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema)ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน
ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์พัฒนาขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย (โดม สุขวงศ์ 2533 : 2-3, เยาวนันท์ เชฏฐรัตน์ 2529 : 6-20 )

ภาพยนตร์ในประเทศไทย
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 เป็นต้นมาได้มีคณะฉายภาพยนตร์เร่จากประเทศต่างๆ เข้ามาจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชนชาวสยามเรื่อยมา โดยจัดฉายตามวัดบ้าง โรงแรม โรงละครบ้าง ต่อมาชาวญี่ปุ่นได้ตั้งโรงภาพยนตร์ขึ้นบริเวณวัดชัยชนะสงคาม (วัดตึก) จัดฉายภาพยนตร์เป็นประจำทุกวัน คนนิยมดูกันมากจนชาวไทยเรียกกันติดปากว่า "หนังญี่ปุ่น" เป็นเหตุให้นักธุรกิจชาวไทยจัดตั้งโรงภาพยนตร์ขึ้นมาอีกหลายโรง ภาพยนตร์ในเวลานั้นส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์เบ็ดเตล็ด สั้นๆ เช่น ข่าว สารคดี สถานที่สำคัญ การแสดงละครหรือจินตลีลาสั้นๆ
พ.ศ. 2453 บริษัทผลิตภาพยนตร์จากอเมริกาได้เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ แสดงให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสยาม
พ.ศ. 2465 สมัยรัชกาลที่ 6 เจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงจัดตั้งกองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว ขึ้นในกรมรถไฟหลวง เพื่อผลิตภาพยนตร์ ข่าวสาร สารคดีและเผยแพร่กิจกรรมของกรมรถไฟ ตลอดจนกิจการของกระทรวงทบวงกรมอื่น และยังรับจ้างผลิตภาพยนตร์ให้เอกชนอีกด้วย
พ.ศ.2466 ได้มีคณะผู้สร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด สหรัฐอเมริกา เดินทางเข้ามาสร้างภาพยนตร์บันเทิง โดยใช้ผู้แสดงเป็นคนไทยเป็นครั้งแรก ชื่อเรื่อง "นางสาวสุวรรณ" เป็นเรื่องความรักของหนุ่มสาวในสมัยนั้น และยังแสดงให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนสภาพบ้านเมือง วัดวาอาราม สถานที่ท่องเที่ยวชายทะเล ทรัพยากรป่าไม้ในภาคเหนืออีกด้วย ต่อมา พ.ศ. 2468 ได้มีคณะถ่ายทำภาพยนตร์ จากฮอลลีวู้ดอีกคณะหนึ่งเดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่อง "ช้าง"
ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทยนำออกฉายในปี พ.ศ. 2470 ชื่อเรื่อง "โชคสองชั้น" สร้างโดยพี่น้องตระกูลวสุวัต แห่งบริษัทกรุงเทพภาพยนตร์ และเรื่อง "ไม่คิดเลย" ของบริษัท ถ่ายภาพยนตร์ไทย ซึ่งสร้างสำเร็จเป็นเรื่องที่ 2


เมื่อกิจกรรมภาพยนตร์แพร่หลาย และมีบทบาทในฐานะเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลสูงเข้าถึงผู้ชมทุกชนชั้น แม้คนไม่รู้หนังสือ ทางราชการโดยรัฐบาลในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 จึงได้ออกกฏ-หมายควบคุมตรวจพิจารณาภาพยนตร์ คือ พ.ร.บ. ภาพยนตร์พุทธศักราช 2473 ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง และจัดตั้งบริษัทสหศินิมาจำกัดขึ้น สำหรับเป็นบริษัทดำเนินธุรกิจด้านภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2475
กิจการภาพยนตร์ได้ซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต แต่ก็มีการสร้างภาพยตร์ออกมาอยู่บ้าง ที่สำคัญคือ ภาพยนตร์ เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยพูดภาษาอังกฤษเรื่องแรก เรื่องเดียว ที่นำออกฉายพร้อมกันทั้งในกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และนิวยอร์ค ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 จัดสร้างโดยนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้ชาวโลกเห็นว่า ไทยเป็นชาติรักสันติไม่เคยคิดรุกรานเพื่อนบ้าน
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 กิจการภาพยนตร์ของโลกและของไทยกลับฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่ง มีการสร้างภาพยนตร์เสียงและภาพยนตร์สีธรรมชาติด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. อย่างแพร่หลาย จนกระทั้งประมาณ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ถือว่าป็นยุคทองของกิจการภาพยนตร์ไทย มีการสร้างภาพยนตร์โดยบริษัทคนไทยซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ผลิตภาพยนตร์ออกฉายทั่วประเทศรวมกันปีละเกือบร้อยเรื่องและเกิดปรากฏการณ์ใหม่อย่างหนึ่งคือ การผูกขาดความนิยมในตัวผู้แสดง คู่พระคู่นางที่สำคัญคือ มิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราชฎร์ เกือบครึ่งหนึ่งของภาพยนตร์ในยุคนั้นใช้ผู้แสดงคู่นี้ ภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ฉายในกรุงเทพฯ นานติดต่อกันถึง 6 เดือนทำรายได้สูงถึง 9 ล้านบาท ได้แก่เรื่อง "มนต์รักลูกทุ่ง"

หลังจาก มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการแสดงภาพยนตร์ กิจการภาพยนตร์ไทยได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคของภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน 35 ม.ม. มีนักแสดงที่มีชื่อเสียงเกิดชึ้นในยุคหลังจำนวนมาก กิจการภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟูอยู่ได้ระยะหนึ่ง จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2524 ได้เกิดการขยายตัวของกิจการวิทยุโทรทัศน์และการนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ ประกอบการแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ของแถบบันทึกภาพ (Video Tape) ทำให้การผลิตภาพยนตร์ลดลง โรงภาพยนตร์ที่มีอยู่ทั่วประเทศราว 700 โรง หลายโรงต้องเลิกกิจการไป คนในวงการภาพยนตร์ส่วนหนึ่งหันไปทำงานด้านโทรทัศน์แทน ปัจจุบันคงเหลือบริษัทผลิตภาพยนตร์ที่สำคัญอยู่เพียง 4 รายใหญ่ คือ ไฟว์สตาร์โปรดัคชั่น สหมงคลฟิล์ม เอแพ็กซ์โปรดักชั่น และพูนทรัพย์ฟิล์ม (โดม สุขวงศ์ 2533 : 47-56)

อ้างอิงจาก http://www.whitemedia.org/wma/content/view/764/6/

foolmoon 2012-01-27 10:00
คนอื่นที่เคยลงทะเบียนไว้ที่นี่

http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=12468

อย่าลืมทำการบ้านกันนะครับ

dadpim 2012-01-27 13:26
ตามที่หาดูแล้วสั้นๆแล้วเข้าใจง่ายสุดคงจะเหมือนหลายๆ คนครับ
ภาพยนตร์์ หรือ “หนัง” เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 เมื่อพี่น้องลูมิแอร์นำประดิษฐกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า ซิเนมาโตกราฟ (cinematography) ออกฉายแก่สาธารณชนและเก็บค่าเช้าชมเป็นครั้งแรก ณ ใต้ถุนร้านกาแฟในกรุงปารีส
          แต่ที่จริงแล้ว ความฝันว่าด้วยการสร้างภาพยนตร์ ได้มีมาก่อนหน้านั้น ดังที่ปรากฏในรูปของเล่นต่างๆ ซึ่งใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา (persistence of vision) เช่น thaumatrope แผ่นกระดาษวงกลมที่ผูกเชือกสองด้าน ภาพยนตร์บนแผ่นกระดาษด้านหนึ่งเป็นรูปกรง อีกด้านเป็นรูปนก เมื่อหมุนเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็วๆ จะเห็นเป็นภาพนกอยู่ในกรงได้ หรือ zootrope ชุดภาพที่ใส่อยู่ในกล่องทรงกลมซึ่งติดอยู่บนแกนหมุน เมื่องมองเข้าไปตามช่องแล้วหมุน จะเห็นเป็นรูปเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น
          หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดยนักทฤษฎีชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2367 เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลักธรรมชาติของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง แล้วหากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว
          ช่วงที่ยังไม่เกิดภาพยนตร์มากนัก มีนักประดิษฐ์หลายคนพยายามที่จะบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องภาพนิ่ง หนึ่งในผู้บุกเบิกก็คือ เอ็ดเวิร์ด ไมย์บริด (eadweard muybridge) ซึ่งรับท้าพนันเจ้าของคอกม้าแห่งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่า ในเวลาม้าวิ่ง จะมีชั่วขณะหนึ่งขาของม้าลอยขึ้นมาพื้นทั้ง 4 ขา เขาได้ทดลองโดยการถ่ายภาพม้าวิ่งด้วยกล้อง 12 ตัว นำสไลด์มาติดบนวงล้อ แล้วฉายด้วยเมจิกแลนเทิร์น (megic latern) ซึ่งเป็นเครื่องฉายสไลด์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเวลานั้น นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าสมมุติฐานนั้นเป็นจริง ยังเห็นภาพม้าเคลื่อนไหวได้เหมือนจริงอีกด้วย
          กลุ่มนักประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิสัน (thomas alva edison) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในยุคบุกเบิกของภาพยนตร์ แต่บุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการประดิษฐ์ คือ วิลเลียม ดิกสัน (william kenedy laurie dickson) ผู้ช่วยคนหนึ่งของเขา ดิกสันได้พัฒนากล้องที่เรียกว่า คิเนโตโฟโนกราฟ (kinetophonograph) โดยใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์ ของ จอร์จ อีสต์แมน (george eastman) ซึ่งออกใหม่ในขณะนั้น หนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำ คือ fred ott’s sneeze จากนั้นนำมาฉายดูในเครื่องฉายที่เรียกว่า คิเนโตส่โคป (kinetoscope) ซึ่งเป็นเครื่องถ้ำมองที่ดูได้ทีละคน ทั้งนี้เป็นไปตามความคิดของเอดิสันที่เชื่อว่า การดูได้ทีละคนจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้คนยอมจ่ายค่าดู แต่เอดิสันคิดผิด เพราะสิ่งที่ทำให้หนังของพี่น้องลูมิแอร์ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักหมายที่หนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลกนั้น ก็คือ การที่เขาพัฒนาให้ฉายขึ้นจอใหญ่และดูได้ทีละมากๆ จนทำให้ภาพยนตร์เป็นมหรสพสาธารณะที่สร้างวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลกในช่วงกว่าศตวรรษที่ผ่านมา
สำหรับในประเทศไทย
ชาวสยามได้รู้จักและชื่นชมซีเนมาโตกราฟ ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยนักฉายภาพยนตร์เร่คนหนึ่ง นาม เอส. จี. มาร์คอฟสกี เข้ามาจัดฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสงเล่นเงาบนจอผ้าขาว ทำนองเดียวกับ หนังใหญ่ หนังตะลุง มหรสพดั้งเดิมที่ชาวสยามรู้จักกันดีอยู่แล้ว ปี พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี จึงกลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น จนในที่สุดตั้งโรงฉายหนังฝรั่งเป็นโรงถาวรรายแรกของสยาม เปิดฉายหนังประจำ บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง ชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง
          พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน
          ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง" โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร

exits 2012-01-28 23:07
ประวัติความเป็นมาของภาพยนตร์

จากการเริ่มการแสดง ที่เป็นการเต้นที่มี สคริปต์ , ชุดแสดง, ขั้นตอนการผลิต , แนวทาง , นักแสดง , ผู้ชม , สตอรี่บอร์ดและการให้คะแนน เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในภายหลังมากในทางทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์ เช่นการวางฉาก การประมาณพื้นที่ภาพทั้งภาพที่ใดเวลาหนึ่ง  เพราะว่าเมื่อก่อนยังขาดเทคโนโลยีสำหรับการทำภาพเคลื่อนไหวและการบันทึกเสียง ไว้สำหรับการเล่นเป็นภาพยนตร์
ในยุค 1860 เครื่องแสดงภาพ เช่น Zoetrope , mutoscopeและpraxinoscope. เครื่องต่างๆเหล่านี้ได้เพิ่มเดิมในเรื่องของอุปกรณ์การมองเห็น (magic lanterns ) ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าภาพติดตา   ธรรมชาติภาพที่จำเป็นต้องได้รับการออกแบบเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการและหลักการพื้นฐานนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเรื่องของภาพยนตร์เคลื่อนไหว
การพัฒนาของเซลลูลอยด์จนถึงฟิล์มสำหรับถ่ายภาพมันได้กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ที่จะจับภาพวัตถุโดยตรงในการเคลื่อนไหวในเวลาจริง  ในปี 1878 โดยช่างภาพชาวอังกฤษEadweard Muybridge จากการแสดงในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้กล้องที่ถ่ายภาพ 24ภาพแสดงการเคลื่อนไหวของม้ามาต่อกัน5 ถึง 10 ภาพต่อวินาที
โดยยุค 1880 การพัฒนาของกล้องภาพยนต์ที่อนุญาตให้ได้ภาพองค์ประกอบของแต่ละบุคคลที่จะบันทึกและเก็บไว้ในม้วนเดียวกันและนำไปสู่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของการเคลื่อนไหวภาพที่โปรเจ็กเตอร์แสงที่จะส่องแสงผ่านฟิล์มการประมวลผลและขยายภาพที่แสดงการเคลื่อนที่ ให้เห็นบนหน้าจอสำหรับผู้ชมทั้งหมด ม้วนเหล่านี้แสดงให้เป็นที่รู้จักว่าเป็นภาพเคลื่อนไหวก่อนได้แสดงให้เห็นเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่มีการแก้ไขหรือเทคนิคอื่น ๆ ในโรงภาพยนตร์ การจัดนิทรรศการสาธารณะครั้งแรกของการฉายภาพเคลื่อนไหวในอเมริกาคือการแสดงที่ฮอลล์เพลง KÖSTER และ Bial ของในนิวยอร์กซิตี้เมื่อ 23 เมษายน 1896
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
  ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้บแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที
     รัชกาลที่ 5 เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้ชมภาพยนตร์แบบนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้นำมาถวายให้ทอดพระเนตรเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ในปี พ.ศ. 2439
     ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema)ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน
     ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
     พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย

ประวัติย่อของภาพยนตร์ ช่วงก่อนปี 1920
  ของเล่นที่ต้องใช้ตาส่องดูภาพภายใน (Optical toys), การเล่นเงา รวมถึง magic lanterns นั้นมีมานานเป็นพันๆปีแล้ว และเหล่านักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็ได้พยายามศึกษาถึงการนำภาพนิ่งต่อเนื่องหลายๆภาพมาเปลี่ยนให้เป็นภาพเคลื่อนไหวโดยใช้หลักการของ “ภาพติดตา” (Persistence of vision) ซึ่งบรรดาสิ่งประ ดิษฐ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาพเคลื่อนไหวนั้นถูกพัฒนาขึ้นในราวต้นศตวรรษที่19 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์นั่นเอง และเหล่านี้คือสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกๆที่มีส่วนช่วยให้ภาพยนตร์ลืมตาขึ้นมาดูโลกได้ - Magic lantterns รุ่นแรกๆถูกประดิษฐ์ขึ้นที่กรุงโรมในช่วงศตวรรษที่ 17 โดย Athanasius Kircher โดยจะใช้เลนส์เป็นตัวนำภาพให้ปรากฏบนฉาก โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบง่ายๆเช่นเทียน - 1842 มีการประดิษฐ์ Thaumatrope ซึ่งเป็นการนำหลักการของภาพติดตามาใช้ โดย Dr. John Ayrton

- 1831 Michaael Faraday นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบหลักการของไฟฟ้าแม่เหล็ก (law of electromagnetic induction) ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้สร้าง มอเตอร์ เครื่องจักรต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ถ่ายภาพยนตร์ด้วย  - 1832 มีการประดิษฐ์ Fantascope โดยนักประดิษฐ์นาม Joseph Plateau ซึ่งใช้หลักการจำลองการเคลื่อนไหวจากภาพนิ่งหลายๆภาพซึ่งแสดงภาพต่อเนื่องของกิจกรรมต่างๆ เช่นการวิ่ง หรือการเต้นรำ โดยจะนำรูปเหล่านี้มาติดไว้ใน perimeter หรือติดไว้กับขอบของ สล็อทดิสก์ จากนั้นก็จะนำดิสก์นั้นมาวางไว้หน้ากระจกและหมุนดิสก์ก็จะสามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเคลื่อนไหวได้จากการมองผ่านช่องสล็อท   - 1834 มีการประดิษฐ์ Daedalum โดยนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ William George Horner (ต่อมาในปี 1867 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น *Zoetrope โดย William Lincoln) *ภาพด้านล่างคือZoetrope ด้านในของทรงกระบอกจะเป็นรูปนิ่งต่อเนื่องกันเมื่อหมุนทรงกระบอกและมองผ่านช่องก็จะเห็นภาพเคลื่อนไหวได้    
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ประวัติการกำเนิด ภาพยนตร์ไทย

ในสมัยรัชการที่ 7 ความนิยมด้านละครเพลง ต้านกระแสภาพยนตร์ฝรั่งไม่ได้ จึงต้องถอยห่างไป ภาพยนตร์ก็ได้รับการพัฒนาต่อมาอย่างรวดเร็ว จากหนังเงียบขาวดำ กลายมาเป็นภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม

ในปี พ.ศ.2471 เกิดโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ซึ่งเป็นทรัพย์สินของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณสี่แยก ถนนเจริญกรุง กับถนนตรีเพชร

ในกลางปี พ.ศ.2474 บริษัท ศรีกรุงภาพยนตร์ ของตระกูล วสุวัต ซึ่งมี มานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจัด (เภา วสุวัต) กระเศียร วสุวัต ได้ถ่ายทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเป็นครั้งแรก ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จกลับจากสหรัฐอเมริกา

โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงมีดำรัสว่า

"ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้เห็นความพากเพียร ความพยายามของหลวงกลฯ และนายมานิต วสุวัต ทำการถ่ายรูปมีเสียงในครั้งนี้ ข้าพเจ้ารู้ดีอยู่ว่า การที่ทำนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย เพราะเครื่องมือเราก็ยังน้อย อาศัยทดลองและพยายามได้ผลถึงเท่าที่นั้น เป็นเกียรติแก่ชาวไทย ซึ่งทำการสำเร็จเทียบเคียงได้กับสิ่งของต่างประเทศ"

ซึ่งนับได้ว่า เป็นกำเนิดของ "ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง" ขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่เคยถ่ายภาพยนตร์ เรื่อง น้ำท่วมเมืองซัวเถา ซึ่งนำเอาภาพถ่ายมาเรียงลำดับ แล้วถ่ายเป็นภาพยนตร์ขึ้น เคยถ่ายภาพยนตร์ การชนช้างในงานยุทธกีฬาของทหาร และภาพยนตร์ที่ถ่ายองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกอล์ฟ ที่หัวหินและเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่องนางสาวสุวรรณ ให้เฮนรี่ แมคเรย์ มาก่อน

บริษัทกรุงเทพฯภาพยนตร์ จำกัด
"โดม สุขวงศ์" เขียนไว้ในกำเนิดหนังไทย ถึงการก่อตั้ง กรุงเทพฯ ภาพยนตร์บริษัท ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างสยามภาพยนตร์บริษัท ของนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง ราชากิจการโรงหนังในกรุงเทพฯ และชาวคณะหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ของตระกูล วสุวัต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างภาพยนตร์ ในปี พ.ศ.2470 ไว้ว่า

"...ตัวบุคคลสำคัญในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งได้แก่พี่น้องในตระกูล วสุวัตอันมีนายมานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจิต (นายเภา วสุวัต) และนายกระเศียร วสุวัต พี่น้องสามคนนี้ ต่างมีใจรักและนิสัยใฝ่ศึกษาทดลองในเรื่องของเครื่องยนต์กลไก เครื่องไฟฟ้า การถ่ายรูปและการถ่ายภาพยนตร์มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย"

"โดยเฉพาะในด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ พี่น้องวสุวัตได้ผ่านการฝึกฝนทดลองถ่ายทำภาพยนตร์ประเภทบันทึกเหตุการณ์ อย่างภาพยนตร์ข่าวสารและสารคดีมาแล้วเป็นเวลาร่วมสิบปี ทั้งยังเคยร่วมดำเนินกิจการจัดฉายภาพยนตร์ในนาม บริษัทสยามนิรามัย ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ 3-4โรงในกรุงเทพฯ"

ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างขึ้น คือ เรื่อง "โชคสองชั้น" ซึ่งสร้างแซงหน้าภาพยนตร์ เรื่อง "ไม่คิดเลย" ของบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยซึ่งมีหลวงสุนทรอัศวราช และ หลวงสารานุประพันธ์ เป็นหัวเรือใหญ่ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากในยุคนั้น เพราะตั้งบริษัททีหลังแต่สร้างหนังได้เสร็จและออกฉายได้ก่อน

ในเรื่องนี้เช่นกัน ขุนวิจิตรมาตรา เล่าไว้ว่า
"เนื่องจากคณะสกุลวสุวัต ได้เริ่มถ่ายทำหนังมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 จนได้ร่วมงานกับนายเฮนรี่ แมคเรย์ดังกล่าวแล้ว คณะสกุลวสุวัตก็คิดถ่ายทำหนังไทยออกฉายตามโรงหนัง ตั้งนามคณะว่า "ศรีกรุง" ใช้เครื่องหมายตราพระปรางค์วัดอรุณฯ หนังที่ทำมีเรื่อง "โชคสองชั้น" หลวงบุณยมานพ (แสงทอง) เป็นผู้แต่งเรื่อง "ใครดีใครได้" เรื่อง "ใครเป็นบ้า" หลวงอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขะวิริยะ) เป็นผู้แต่งและกำกับการแสดง ผู้ถ่าย คือ หลวงการเจนจิต ผู้แสดงเป็นตัวเอกมี นายเม่น ชลานุเคราะห์

หนังไทยคราวนั้น ปรากฏว่าเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนมาก มักเรียกกันว่า "หนังหลวงกลฯ" หรือ "หนังศรีกรุง"

ต่อมา กรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัท ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง "ใครดีใครได้" ออกฉายเป็นเรื่องที่ 2 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2470 และ เรื่อง "ใครเป็นบ้า" เป็นเรื่องที่ 3 ในปีต่อมา 30 มิถุนายน 2471


อ้างอิงจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Film#History
http://www.thaigoodview.com/node/43891
http://www.narak.com/webboard/show.php?No=17255

gooddream 2012-01-29 03:48
    

hana 2012-01-29 20:40
มาส่งการบ้านครับผม...

    





foolmoon 2012-01-30 20:47
ประทับใจทุกคนเลยครับ โดยเฉพาะของคุณ Hana ยอมรับว่าขยันมาก คิดว่าวีดิโอชิ้นนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนที่อยากรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ครับ
สำหรับท่านอื่นๆทุกคนสามารถหาแหล่งข้อมูลได้ชัดเจนมากครับ ที่อาจจะต้องปรับให้ลองอ่านให้เข้าใจแล้วมีสำนวนแบบตัวเองด้วยก็ดีนะครับ มันเป็นเป็นผลงานได้ครับ เป็นผลงานของเราที่หาข้อมูลแล้วนำมาเรียบเรียง เพราะจะบทนี้ไปจะเป็นเรื่องของการเขียนล้วนๆครับ  

กลุ่มที่เป็นงานเขียนคราวหน้าอ่านแล้วเขียนเป็นไทม์ไลน์ดูอาจจะช่วยเสริมความเข้าใจได้แล้วครับ

สำหรับคนอื่นที่ลงทะเบียนไว้ ส่งการบ้านได้ถึงวันพุธแล้วกันครับ ยังทดลองทำได้อีกหรือลองหาแง่มุมที่ต่างจากของคนอื่นๆอีกก็ได้ครับ ผมเชื่อว่ามีอีกครับ

การเรียนของเ้ราอาจจะแปลกกว่าที่อื่นนะครับ ให้ผมหาข้อมูลแล้วเอามาโพสต์แบบเมื่อก่อนก็ได้ครับ แต่แบบนี้ผมว่ามันจะจำมากกว่า อย่างน้อยคนที่หาก็จะได้ค้นคว้า มีการเรียบเรียง จัดระเบียบความคิดก่อนที่จะพิมพ์บอกต่อไปครับ

หวังว่าจะชอบวิธีการนี้กันนะครับ...

เดี๋ยววันพุธเราจะมาเข้าเรื่องของภาพยนตร์กันอย่างจริงจังครับ และแน่นอนครับว่าการบ้านจะเข้มข้นเหมือนเดิมครับ

kiattisakmj 2012-09-08 14:36
ของคุณ hana ผมชอบมากเลยอ่ะครับ
สอนผมทำบ้างนะครับ ผมพึ่งหัดตัดต่อวีดีโอ

veenono 2013-01-20 08:30
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์6 ต้นฉบับโพสต์โดยhanaเมื่อ2012-01-29 20:40เผยแพร่ :
มาส่งการบ้านครับผม...

    


.......


ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากๆเลย บวกกับการอ่านของท่านอื่นๆ


เวอร์ชันเต็ม: [-- ห้องเรียนหนังตอนที่ 2 ภาพยนตร์คืออะไร --] [-- top --]


Powered by phpwind v8.3 Code ©2003-2010 phpwind
Time 0.012959 second(s),query:2 Gzip enabled