สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 40356เข้าชม
  • 8ตอบกลับ

แนวทางในการทำสารคดีสำหรับผู้เริ่มต้น ( น้องใหม่ควรรู้ )

โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

มีน้องเม้นท์ถาม " อยากถ่ายสารคดีเก่งแบบพี่ในเว็บ มีข้อห้ามและไม่ห้ามอะไรบ้าง? "…..( .คิดนานมากว่าจะอธิบายให้น้องใหม่เข้าใจอย่างไร.. )
.. จริงๆแล้วหลักการผลิตสารคดี มีหลักเดียวเท่านั้นคับ.." ทำอย่างไรที่จะให้คนดูงานสารคดีเรื่องที่เราผลิต ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ลุกหนีไปไหน หรือกดเปลี่ยนช่อง "
      ตอบกว้างไปหรือเปล่าคับ..( ก้อมันจริงๆนี่นา ) การจะตรึงคนดูเอาไว้ไม่ให้ลุกหนีหายไปไหน จะสาหัสมากสำหรับคนทำสารคดี เพราะทุกอย่างดูน่าเบื่อไปเสียหมด
      แต่เมื่อจำเป็นต้องทำสารคดี เราก็มีข้อคิดเป็นแนวทางกว้างๆ ( แบ่งประเภทตามเนื้อหาภาพที่ใช้ เพื่อให้น้องใหม่มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น )…
      …ก่อนอื่นเรามาเข้าใจของก้อนเนื้องาน ( วัตถุดิบที่มี ) กันก่อนดีกว่านะคับ...มีภาพนำเสนออยู่ 6 ภาพ ด้วยกันคือ..ชนิดของภาพแบบที่...
   1. ภาพตัวพิธีกร หรือผู้ดำเนินรายการ จะเดี่ยวคู่ เป็นดารา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นใครก็ได้..... คอยถามสิ่งที่คิดว่าคนทั่วไปอยากรู้ ( คนดูไม่ได้ไปด้วย )
        ….คอยเปิดประเด็นเพิ่ม ( ถ้าข้อสงสัยยังไม่หมด )  ….คอยสรุปและดึงเนื้อหาในเรื่องออกมาให้คนดูรู้เรื่องให้ได้ ( ไม่ให้หลุดคอนเซ็ป ) 
         พูดง่ายๆก็คือ ทำหน้าที่แทนคนดูทางบ้านนั่นแหละ ( ตัวพิธีกรก็คือตัวแทนของกลุ่มคนดู เช่น รายการวัยรุ่นพิธีกรก็ต้องวัยรุ่นด้วย )..
   2.  ภาพผู้ถูกสัมภาษณ์ หรือผู้เล่าเรื่องราว มีหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่จะนำเสนอให้คนที่ไม่รู้ได้รู้จริง ( ให้ได้รับข้อมูลถูกต้อง ) และให้คนที่ไม่เข้าใจได้เข้าใจ ( ไม่สับสน )
        ด้วยบางครั้งผู้เล่ามีความรู้มากมาย จึงเล่าสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก พิธีกรจะต้องคอยตะล่อมให้เข้าสู่เนื้อหาที่ตรงประเด็น หรือ ถ้าผู้เล่าอธิบายไม่ละเอียด
        ข้ามไปมา พิธีกรก็จะต้องคอยสรุปถามให้แน่ชัดว่า สิ่งที่เราเข้าใจคือสิ่งที่ผู้เล่ากำลังพูดถึงใช่หรือไม่...
   3. ภาพตัวพิธีกรและภาพผู้เล่าเรื่องราว ทั้ง 2 คนอยู่ในภาพเดียวกัน ( ต่างกันกับแบบ 1 ที่มีพิธีกรคนเดียว , และแบบ 2 มีตัวผู้เล่าเรื่องราวคนเดียว )
   4.  ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงคนประกอบ  เสียงที่ใช้อาจเป็นเสียงพิธีกร หรือเสียงผู้เล่าเรื่องราว ถ้าบางครั้งผู้เล่าเรื่องราวมีเวลาให้เราน้อย 
        เราสามารถเปลี่ยนเสียงเป็นคนบรรยายอื่นก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย  เช่น ผู้เล่าเรื่องราวเป็นชาย ช่วงอธิบายอาจเป็นเสียงผู้หญิง... 
   5. ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงเพลงประกอบไปกับภาพ ภาพสนุกตื่นเต้นก็ใช้เพลงตื่นเต้น เพลงประกอบ จะช่วยเสริมให้เนื้อเรื่องในสารคดีน่าสนใจมากขึ้น 
        ……( จริงๆ แล้ว ภาพ 4 - ภาพ 5 ก็คือภาพเดียวกัน แต่แบ่งแยกออกมาให้น้องใหม่ได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เวลาอธิบาย)        
   6.  นำภาพทั้งหมด ตั้งแต่ภาพแบบที่ 1-ภาพแบบที่ 5 นำมารวมกันอยู่ในเฟรมเดียวกัน เช่น ภาพตัวพิธีกรกับภาพเหตุการณ์ที่คนกำลังทำงานอยู่ในเฟรมเดียวกัน 
       หรือ ภาพผู้เล่ากับภาพเหตุการณ์อยู่ในเฟรมเดียวกัน อาจแบ่งภาพเป็น 2 - 3 - 4  ช่องในเฟรมเดียวกัน ก็ได้ 

 …..ภาพในการทำสารคดีมีอยู่ 6 แบบเท่านั้น หน้าที่ของคนทำคือ ผสม 6 ภาพนี้ให้เข้ากันอย่างลงตัวและน่าสนใจ ( สูตรใครสูตรมัน ไม่มีหลักตายตัว )..เช่น 
   พิธีกรคนเดียว - แนะนำผู้เล่าเห็นหน้าท้ง 2 คน - เห็นหน้าผู้เล่าคนเดียว - ใช้ภาพผสมเสียงผู้เล่า - หน้าผู้เล่า - ภาพมีเสียงเพลง - ภาพพิธีกรและผู้เล่า ฯลฯ..
   ไม่ใช่ให้พิธีกรพูดมากเกินกว่าผู้เล่า , หรือให้ผู้เล่าอธิบายจนน่าเบื่อ , หรือใส่ภาพผสมเสียงพูดนานจนลืมพิธีกร ฯลฯ ( อย่าลืมเบื่อเมื่อไหร่คนดูเปลี่ยนช่องทันที )


         ใครอยู่ในวงการสารคดีมานาน จะมีช่วงหนึ่งที่รัฐบาลกำหนดให้ช่วง 6 โมงเย็นของทุกวัน นำเสนอรายการได้ 3 รูปแบบคือ การศึกษา, การเกษตร,
      และรายการเพื่อสุขภาพ ช่วงนั้นคนทำทีวีแทบตกม้าตาย เพราะ 3 แบบนี้หินสุดๆ แค่เริ่มเปิดรายการ พิธีกรพูด วันนี้เราจะพาไปพบกับลุงชินผู้ปลูกผัก...
      รับรองว่าไม่ทันพูดจบคนดูก็กดช่องหนีแล้ว ต่างคนต่างครีเอทรายการสุดๆเท่าที่จะนึกได้ อยากรู้ไม๊ว่าทำยังไงถึงจะตรึงคนดูไม่ให้เปล่ี่ยนช่อง...
      รายการสุขภาพ ให้ชายใส่สูทและหญิงใส่รองเท้าส้นสูงในชุดทำงาน วิ่งออกกำลังกายในสวน โดยมีเนื้อเรื่องว่า คุณสามารถออกกำลังกายได้แม้ในชุดทำงาน
      รายการเกษตร ให้หญิงใส่ชุดว่ายนำ้ ยืนอยู่ท่ามกลางร่องสวนผัก โพสท่าเท่ห์ แล้วตะโกน 36 26 36 ไม่ใช่สูตรของนู๋นะคะ แต่เป็นสูตรปุ๋ยค่ะ...
      รายการเพื่อการศึกษา เห็นกลุ่มวัยรุ่นช่างกลแต่งตัวกวนทีน เดินเป็นกลุ่มพร้อมอาวุธครบมือ หน้าแต่ละคนพร้อมมีเรื่อง แต่เดินไปช่วยสร้างโรงเรียน ….
      ...ท่องจำไว้ให้ขึ้นใจว่า " ......ไม่ว่าคุณจะผลิตงานสารคดีให้ออกมาดีแค่ไหน , ลงทุนมากแค่ไหน , หรืองานดีเลิศประเสริฐศรีสุดปฐพี เท่าที่มีคนทำมา
.......ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าคนไม่ดู ( เบื่อแล้วกดช่องหนี ) ...สู้อยู่เฉยๆ ไม่ทำเลยจะดีกว่า ".....  ยกเว้น  สารคดีที่จ้างผลิตโดยเฉพาะ ไม่เข้าข่ายคำพูดนี้...
       เช่น สารคดีเชิงวิชาการ , สารคดีที่ต้องใช้ข้อมูลจริง , สารคดีการสอน ฯลฯ เหล่านี้แม้จะเบื่อน่าหลับแค่ไหน ก็ต้องทนดู เพราะถ้าเราเสริมเทคนิคใดๆ
       มากเกินความจำเป็น อาจทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือ เกิดความเข้าใจผิดในเนื้อหาได้....

     ….. ปิดท้ายเคล็ดลับที่เสริมงานสารคดีให้คนดูน่าติดตาม ( ไม่เบื่อจนเปลี่ยนช่อง ).. เชื่อไม่เชื่อไม่ว่ากันเหมือนเคยนะคับ...
      - อย่าใส่เพลงประกอบในขณะสัมภาษณ์ผู้เล่าเรื่อง เพราะจะทำให้เนื้อเรื่องที่ผู้เล่าอยู่ขาดความน่าเชื่อถือ และอีกอย่างเสียงสัมภาษณ์นอกสถานที่ก็ฟังไม่รู้เรื่อง
        อยู่แล้ว ใส่เพลงเข้าไปอีกก็ยิ่งพาลทำให้งานเละไปกันใหญ่ ( ใส่เพลงควรใช้แบบ 5 เท่านั้น ) แต่ถ้าจำเป็นต้องใส่ ไม่ควรให้เพลงไปกลบเสียงผู้สัมภาษณ์…
      - ใช้เอฟเฟคในการตัดต่อเพิ่มความน่าสนใจ เช่น ฟาสสปีด หรือสโลว์ภาพ ถอยไปมา กัดสี ตัดเร็วเข้าจังหวะเพลง
      - ใช้บทเป็นตัวนำ เหมือนสารคดีพี่โจ๋ยบางจาก ที่เล่นคำกับบท ช่วงนั้นใครๆก็ติดกันงอมแงม แต่มา ณ วันนี้ คนกลับชอบรายการ " คนค้นคน " 
        ที่นำเสนอแบบไม่ต้องมาเสียเวลากับพรำ่พรรณาบท ชีวิตเป็นอย่างไรก็นำเสนอแบบนั้น ให้คนดูติดตามและคิดกันเอง..
      - ใช้เพลงผสมเหมือนสารคดีเพลง ค่ายเพลงต่างๆชอบใช้ ให้ดาราพาเที่ยวทำนองนี้      - .ทำเป็นละครผสมสารคดี ชีวิตจริง ข้อดีคนดูชอบ ข้อเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อาจเกินงบที่มี
      - ใช้ความตลกเข้าผสม ต่อมุขเสริมมุข ระหว่างพิธีกรกับผู้เล่าเรื่อง เอาฮาเป็นหลัก เนื้อหาเป็นรอง สนุกจนคนลืมเปลี่ยนช่อง ( รายการวัยรุ่น )
      - ใช้พิธีกรเข้าร่วมทำกิจกรรม หรือทำเป็นเกมส์แข่งกับผู้เล่นที่รับเชิญ สำหรับรายการที่มีเวลามาก ก็จะทำกิจกรรมเสริมแทนผู้ชมทางบ้าน
      -  กำลังฮิต สารคดีแบบถามตอบ ตั้งแต่รู้สู้ฟลัดทำปลาวาฬออกมาดังจนหลายบริษัทค้อนควับๆ คือ รูปแบบถามเองตอบเอง ..ทำไมนำ้ถึงท่วม...
         และเราจะมีวิธีการสู้กับนำ้อย่างไร …เริ่มต้นวิธีนี้....ฯลฯ... กระชับมีแต่เนื้อหาล้วนๆ

………ถ้ากระแส สารคดีแบบถามเองตอบเอง ความต้องการของลูกค้ายังมีมากอยู่ ( แว่วว่าปีนี้ 2555 ไม่รับงาน ปีหน้าค่อยมาคุยกัน )
ผมว่าพี่ๆในเว็บต้องแย่แน่ๆ เพราะ …..ใครจะเชื่อว่า คนเพียงคนเดียวสามารถทำสารคดีออกมาได้ดี โดยไม่ต้องใช้กล้อง ไม่ต้องมาเถียงกันว่า
( กล้อง DSLR หรือกล้อง VDO ใครดีกว่าใคร ) … ไม่ต้องใช้พิธีกร ( เล่นตัวนัก ) ไม่ต้องจ้างช่างภาพและทีมงานไฟ ( ประหยัดงบเพียบ )
ใช้เครื่องคอมเพียงเครื่องเดียว ก็สามารถทำสารคดีได้แล้ว ….ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อนะคับว่า ...อะไรก็เกิดขึ้นได้ในวงการโปรดัคชั่น....














[ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2012-01-15 09:24 ]
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 2 คะแนน ซ่อน
gotchastudio ความดี +10 2012-01-17 -
rotcerid ความดี +7 2012-01-13 -

บทความที่เกี่ยวข้อง

yun
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
226
เงิน
6826
ความดี
6135
เครดิต
5948
จิตพิสัย
7414
จังหวัด
ชลบุรี
ขอบคุณครับ  ความรู้ดีมากชอบ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
42
เงิน
560
ความดี
500
เครดิต
398
จิตพิสัย
523
จังหวัด
พิษณุโลก
ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
211
เงิน
4334
ความดี
2401
เครดิต
1873
จิตพิสัย
4682
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2012-01-13
ขอบพระคุณมากๆ ครับ จะนำไปปรับใช้ในการทำงานโอกาสต่อไปครับพี่
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
366
เงิน
12066
ความดี
13389
เครดิต
13802
จิตพิสัย
13834
จังหวัด
พิษณุโลก
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2012-01-13
ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
342
เงิน
7600
ความดี
5543
เครดิต
5628
จิตพิสัย
9319
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2012-01-14
ขอบคุณล่วงหน้าก่อนครับ กำลังอ่านครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
342
เงิน
7600
ความดี
5543
เครดิต
5628
จิตพิสัย
9319
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2012-01-14
โอ้ขอบคุณอีกรอบครับผมขอเข้ามาอ่านอีกหลายๆรอบเลยครับ
เป็นเรื่องที่ผมพยายามหาอ่านอยู่เลยครับโชคดีจริงๆ
โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2012-01-17



    มาอับเดทข้อมูลในการทำหน้าที่พิธีกรเพิ่ม ที่ควรทำและไม่ควรทำ สรุปให้เข้าใจละเอียด...(เห็นว่าเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน )..

1. พิธีกรไม่ควรพูดมากเกินกว่าผู้เล่าเรื่องราว หมายความว่า การตั้งคำถามต้องเป็นคำถามแบบเปิดไม่ใช่แบบปิด ตัวอย่างคำถาม..
     …คำถามแบบเปิด  " ช่วยอธิบายขั้นตอนการทำ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบขั้นตอน มีอะไรบ้างคะ "..ถามให้สั้นที่สุด เพื่อเปิดทางให้คนเล่าได้อธิบาย
    ….คำถามแบบปิด   " ขั้นตอนการทำมี 5 ขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนเห็นแล้วไม่ยากเลย แสดงว่าทำคนเดียวใช่ไม๊คะ " และอื่นๆอีก...
                            เรียกว่าถามเองอธิบายเอง ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เล่าได้อธิบาย ...
2. พิธีกรมีหน้าที่เปิดประเด็นคำถาม แล้วเชื่อมโยงให้เนื้อหาเป็นก้อนเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน..
3. พิธีกรมีหน้าที่คอยถามแทนคนดู ในสิ่งที่คิดว่าคนทางบ้านอยารู้ ( เพราะไม่ได้ไปด้วย ) กรณีผู้เล่าเรื่องราวเล่าอธิบายไม่ละเอียด และไม่เข้าใจ
     พิธีกรต้องคอยถาม และคอยสรุปข้อมูลที่ได้ ให้ถูกต้อง
4. กรณีผู้เล่าเรื่องราว อธิบายนอกประเด็น หรือเล่าสับสนข้ามไปมา ห้ามเบรคอย่างเด็ดขาดนะคับ ปล่อยให้ผู้เล่า เล่าไปเรื่อยๆเพราะบางครั้งการไป
     หยุดหรือเบรคในขณะนั้น ทำให้ผู้เล่าลืมเรื่องที่จะเล่าเลยก็มี ปล่อยให้ผู้เล่าจนเหนื่อย แล้วค่อยถามดึงกลับเข้าเรื่องที่เราวางแนวเอาไว้
     เช่น  .." ขอย้อนกลับไปขั้นตอนแรก ช่วยอธิบายให้ละเอียดอีกครั้งได้ไม๊ค๊ะ "…
5. การตัดเสียงผู้เล่า เห็นน้องใหม่หลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญส่่วนนี้เท่าไรนัก ( เห็นความผิดพลาดมากในงานเว็ดดิ้ง ) เสียงพูดที่หยุดพักผิดช่วง
     เสียงไอกระแอม เสียงพูดผิดซำ้ 2 หน เหล่านี้ คนตัดต่อต้องคอยตรวจเช็คและฟังความหมายเพื่อรักษาภาพพจน์ของคนทั้ง 2 ด้วย ( ตัวพิธีกรและตัวผู้เล่า )
     กรณีแก้ไขได้ก็ควรทำ เช่น ถ้าหยุดพักผิดช่วงก็ควรต่อให้ถูก และเว้นช่วงคำใหม่ให้ถูกต้อง โดยอาจใช้ภาพแทรกแทนช่วงที่ตัดต่อคำพูด...
6.  ช่วงไหนจะใช้ภาพหน้าพิธีกรหรือหน้าผู้เล่า มีขอบเขตการเลือกเหมือนกันนะคับ ไม่ใช่นึกอยากจะแทรกภาพตรงนี้ก็แทรกเลยทำไม่ได้นะคับ
     การเลือกช่วงที่จะแทรกภาพต้องเป็นช่วงที่เขาพูดเล่าตามขั้นตอนช่วงนี้แทรกได้ แต่ถ้าเป็นช่วงที่พูดแล้วมีความหมายเฉพาะ หมายความว่า
     พูดกับคนดูโดยตรง เช่น……" อยากให้ผู้ชมช่วยอุดหนุนซื้อผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน คุณไม่ได้ช่วยชาวบ้านเพียง 1 คนเท่านั้น
                            เพราะชาวบ้านเหล่านี้มีครอบครัวที่ต้องดูแลที่บ้าน และญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลอีก ช่วย 1 ชีวิตเท่ากับช่วยได้ถึง 10 ชีวิต "….
    ใครที่แทรกภาพตรงนี้ตายเลยนะคับ เพราะจะทำให้ความแรงของคำพูดตกไปเลย ไม่เชื่อลองตัด 2 แบบ แบบมีภาพแทรก กับแบบไม่มี จะเห็นชัดเจน..
7. ลักษณะของภาพผู้สัมภาษณ์ มี 3 ลักษณะคือ
   ลักษณะ1 ตาผู้สัมภาษณ์มองกล้อง ดีที่สุด เพราะเป็นการพูดเฉพาะเจาะจง หรือจะเลือกใช้เฉพาะประโยคสำคัญก็ได้ เพื่อให้เกิดความแตกต่างในเนื้องาน
      "    2 ตาผู้สัมภาษณ์มองข้างกล้องซ้ายหรือขวาก็ได้ แล้วแต่เฟรมที่เว้นว่าง ข้อดีคือกรณีผู้สัมภาษณ์มองกล้องแล้วพูดไม่ได้ จำต้องมีคนคอยฟังแล้ว
              พยักหน้าฟังร่วมไปด้วย ความหมายภาพยังมีความรุ้สึกว่ายังรักยังห่วงใยคนดูเหมือนกัน …( ถ้าไม่สังเกตุ )
     "     3 ตาผู้สัมภาษณ์มองออกนอกกล้อง ซ้ายหรือขวาก็ได้เช่นกัน กรณีผู้ถูกสัมภาษณ์ขี้อายมากๆ ไม่อยากให้ใครยืนดูอยู่ ทุกคนต้องไปยืนหลังกล้อง
              อาจใช้เพื่อสร้างความแปลกใหม่ ในรายการวัยรุ่น หรือรายการเฉพาะที่ใช้กล้องหลายกล้อง 2-3 กล้อง เพื่อประกาศศักดาว่าบริษัทมีกล้องเยอะ
           ...ลักษณะงานการถ่ายสัมภาษณ์ สามารถใช้ได้ทั้งงานเวดดิ้ง และงานสารคดี หลักเดียวกันหมดทุกงานคับ...
    
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้