สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 15166เข้าชม
  • 6ตอบกลับ

การเขียนบทสารคดี ( p0p-it )..

โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร



   มีน้องใหม่เม้นท์มาถาม … สับสนการทำบทสารคดี " มีทั้งคนสัมภาษณ์พูด , เราพูด(บทที่ต้องเขียนในเนื้อ) , และพิธีกรพูด                                               อะไรคือส่วนสำคัญสุดในงานสารคดี?.."
   ถามมานานมาก แต่ไม่มีเวลาเขียนเพราะถูกลูกค้าจิกไปช่วยงานด่วน  ( ตอนนี้ลูกค้าเผลอ เลยแอบมาตอบ )..
  ….คำถามนี้เกิดจากการที่ผมได้เวิร์คช็อพไปงานหนึ่งว่า  มีบทพูดซำ้ไปมาระหว่างพิธีกรพูดกับเนื้อเรื่อง
 เวิร์คช็็อพสารคดี น้องใหม่ต้องดู ( p0p-it) 

  เริ่มต้นในการทำบทสารคดี..เรียงตามขั้นตอนนี้ทุกอย่าง ( ห้ามลัดขั้นตอนนะคับ )
 1. หาข้อมูลในเรื่องที่ต้องการทำก่อน จะหาในหนังสือหรือทางไหนก็ได้ หาข้อมูลในแนวที่เราจะทำ เขาเรียกทำการบ้าน 
      น้องใหม่หลายคนไม่ทำการบ้านไปตายเอาดาบหน้า คือไปสัมภาษณ์สถานที่จริง แล้วจับประเด็นตรงนั้นเลย ถามว่าทำได้ไม๊ทำได้คับ
      ไม่ผิดกติกา ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์ (ไม่ด่า) มีบางครั้งที่เมื่อไปถึง ผู้จะไปสัมภาษณ์กลับถูกสัมภาษณ์เสียเอง คือผู้ที่จะให้สัภาษณ์ถามทีมงานว่า 
      ก่อนจะมาที่นี่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวผมบ้าง หรือขอดูสมุดที่คุณจดอยู่ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง? ถ้าคุณตอบว่า ไม่มี ไม่รู้ จะมารู้ก็ตอนนี้ 
      ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นปราชญ์มีความรู้ระดับครู เขาอาจไล่ตะเพิดคุณออกจากบ้านเดี๋ยวนั้นเลย ผู้ใหญ่รุ่นเก่าหลายคนเขาถือนะคับ 
      ถือว่าคุณไม่ให้เกียรติคนถูกสัมภาษณ์ ไม่ทำการบ้านมาแล้วจะเอาอะไรมาถาม รวมถึงงานที่เสร็จ จะออกมาดีได้อย่างไร?..
      และอีกอย่าง จะไปสัมภาษณ์ใครต้องน้อบน้อมและสัมมาคาราวะให้มากๆ ที่เขาอุตสาห์สละเวลาอันมีค่ามานั่งให้เราถ่ายทำรายการ 
     ( บางครั้งอาจกินเวลานานเป็นวัน ) จะให้เขาทำอะไรพูดจาให้ดี อย่าใช้คำถามเหมือนดูถูก หรือไปกร่างทำเหมือนว่า
      เอ็ง( ผู้ถูกสัมภาษณ์ ) จะต้องสำนึกบุญคุณข้า ที่อุตสาห์เดินทางมาทำรายการ…ทำนองนี้ ..( น้องใหม่ต้องระวัง ห้ามทำเด็ดขาดนะคับ )
 2. ไปสถานที่จริงหาข้อมูลจริง ว่าตรงกับที่เรารู้เข้าใจมาหรือไม่? เนื่องจากข้อมูลเดิมที่เราหามาอาจเก่าไปใช้ไม่ได้หรือแหล่งข่าวที่เราค้นคว้า
      นำเสนอข้อมูลผิดก็ลองสอบถามพูดคุยผู้ถูกสัมภาษณ์ดูว่าตรงไหนใช้ได้หรือไม่ หรือต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตรงไหน 
      แล้วก็ปรับจูนข้อมูลเก่าและใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกัน 
     ( แต่อย่างไรก็ตาม แม้ข้อมูลเปลี่ยน ฐานข้อมูลเดิมก็ยังคงใช้ได้และเป็นประโยชน์อยู่..)
  3.  มาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วคับ ที่จะกำหนดว่า สิ่งใดควรให้ผู้สัมภาษณ์พูด , หรือพิธีกรพูด สุดท้ายตัวเราต้องเป็นคนพูดเอง ( เขียนบท ) 
      ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ เรียงลำดับความสำคัญที่สุด 100% ไล่เลียงไปจนถึงสำคัญน้อยสุด 
  -  สำคัญสุด ควรที่จะให้ผู้สัมภาษณ์พูด รู้ได้อย่างไร วิธีคิดง่ายมาก เนื้อหาประโยคนี้ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์พูดเทียบกับเราเป็นคนพูด คิดว่าคนดู
     จะเชื่อใครมากกว่ากัน ถ้ารู้สึกว่าใครพูดก็ดีไม่สู้ เท่ากับตัวเขาที่พูดเอง ก็ยกช่วงนี้ให้พระเอกไปเสียดีๆอย่าได้เข้าไปแย่งซีนเป็นอันขาด
  -  สำคัญน้อยสุดควรพูดเอง( เขียนบทเอง) ก็คัดจากเนื้อหาที่เหลือข้างต้น ที่ดูแล้วว่า ใครๆก็พูดได้ แล้วความหมายไม่เสีย
 -  สำหรับบทของพิธีกรก็เป็นเสมือนตัวแทนทางบ้าน ถามทุกเรื่องที่อยากรู้อยากเห็น ถามนั่นถามนี่ในส่วนที่ตอบไม่ชัดเจน

     รวมถึงคอยสรุปประเด็นต่างๆให้ทางบ้านได้เข้าใจไม่สับสน


          จริงๆแล้วหลักการเขียนบทสารคดี ไม่มีหลักตายตัว ไม่ว่าคุณจะเขียนแบบไหน ก็ใช้ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเนื้อหาหรือรูปแบบรายการ
     ที่สปอนด์เซอร์กำหนด ในทางกลับกันในเมื่อเราถูกกำหนดให้ทำตาม แล้วเราจะรู้ถึงตัวตนที่แท้จริงในงานของเราที่ทำได้อย่างไร
     ก็เช็คได้จากพวกเราที่ทำอาชีพเดียวกันนี้ล่ะคับ (  แข่งกันเองในแต่ละประเภทรายการ )..

       - บทพิธีกรพูดเปิดปิด ใช้คำถามที่น่าสนใจ และน่าติดตามหรือไม่...
       - บทเขียนในเนื้อแต่ละช่วง ใช้คำคม สัมผัสนอกในไปช่วยให้ภาพมีความหมายขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ?..
       -เนื้อหาในแต่ละช่วง ทำการบ้านหาข้อมูลมาดี
แล้วหรือยัง?..

     สมมติผมจะทำสารคดีเรื่องวัดพระพุทธโสธร นำเสนอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัด ตอนนี้ทีมงานอยู่ที่วัดเรียบร้อยแล้ว

      อยากสัมภาษณ์ใครสักคนที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัด หันซ้ายขวาคนแรกที่เห็น จัดไปด่วน..
       ..สัมภาษณ์คนขายดอกไม้หน้าวิหาร ได้ความรู้อยู่แล้วเพราะขายมาหลายปี
      ..เหยียบเท้าเข้าวิหารเห็นทีมงานตำรวจที่ดูแลความปลอดภัย ดูจากยศแล้วใหญ่โตน่าเกรงขาม สัมภาษณ์อีกครั้ง ไม่เป็นไรถ่ายเผื่อไว้
      ..เดินไปยังมุมวิหารด้านข้าง มีป้ายเชิญติดต่อมรรคทายก ลืมไปเลยว่าวัดคู่กับมรรคทายก ติดต่อขอสัมภาษณ์อีกเช่นกัน ไม่เป็นไรวันนี้ไม่รีบ

     ...ก่อนกลับเข้าไปกราบพระพุทธโสธรเพื่อขอพร พบเจ้าอาวาสกำลังนำชาวบ้านสวดมนต์เช้า และที่สุดของที่สุดในการทำสารคดีวัดก็คือ
        สัมภาษณ์เจ้าอาวาส  ( น่าเขกหัวตัวเองซะจริง ลืมไปได้ยังไง?) ..สัมภาษณ์อีกซะรอบทีมงานจะบ่นไหมเนี่ย..

   ....นี่คือตัวอย่าง ของการทำสารคดีวัด

            .......จะสัมภาษณ์คนขายดอกไม้หน้าวิหาร หรือจะสัมภาษณ์เจ้าอาวาส ก็ได้ข้อมูลเหมือนกัน
                   แต่ความน่าเชื่อถือไม่เหมือนกัน คุณภาพรายการก็ต่างกันด้วย ( คนเขียนบทสารคดีเขาแข่งกันตรงนี้ล่ะคับ )

...มีน้องเม้นท์มาให้ช่วยแสดงความคิดเห็นงานสารคดีกลุ่มที่ทำในองค์กร ลองเปิดเข้าไปดูเห็นมีหลายเรื่อง แต่ละเรื่องยาว 20-25 นาทีขึ้นไป

   ขณะที่รอโหลดเห็นอะไรแว็บๆด้านข้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลาช่วงที่รอ เปิดดูฆ่าเวลาไปพลางๆก่อน  เลยได้ความรู้มาฝากเป็นข้อคิดว่า...

                     
....." ทำสารคดีออนแอร์โทรทัศน์   เบื่อเมื่อไหร่คนกดเปลี่ยนช่อง
                         ทำสารคดีลงเว็บ  โหลดช้าเมื่อไหร่คนกดดูคลิปหลุด "....
 ( คู่แข่งที่น่ากลัวยิ่งสำหรับคนทำรายการลงเว็บ) 

สรุปแล้ววันนั้น ผมยังไม่ได้เปิดดูงานของน้องที่เม้นท์มาเลย  เพียงตอบกลับไปว่าทำให้สั้นๆหน่อยได้ไหม?
    ..เพราะผมเป็นคนชอบของหลุดนะคับ..
               

                   





www.p0p-it.blogspot.com

บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +1 ซ่อน
veenono ความดี +1 2014-02-12 -

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
148
เงิน
3793
ความดี
2253
เครดิต
2262
จิตพิสัย
4238
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2014-02-12
3-4 เดือนที่ผมเรียนรู้งาน เป็นการถ่ายทำหลายตอน(ออกอากาศ)ครับ ที่นิยมเรียกกันว่าหลายเทปน่ะครับ
ก็ถ่ายทำราวๆ 3-4 วันต่อ 2 เทปออกอากาศ ก็คือตามถ่ายทำชีวิตเค้าประมาณ 2 วันต่อ 1 เทปนั่นเอง

การถ่ายทำแต่ละเรื่อง บางทีก้เหลื่อมๆ กันฮะ อย่างถ่ายสัมภาษณ์คนหนึ่งไว้ และต้องรอวันทำกิจกรรมเค้าอีก 2 สัปดาห์
ระหว่างนี้ก็ไปถ่ายละครของอีกเรื่องหนึ่ง ฯลฯ เวลาก็เลยไม่แน่นอนในแต่ละเทปครับ แต่็ก็มีความเร่งรีบอยู่เป็นธรรมดาของรายการโทรทัศน์ เพราะต้องรายงานกับ Producer รายการ ว่าเนื้อหาของเราจะสมบูรณ์ในวันไหน เขาจะได้จัดลำดับออกอากาศได้ (รายการนี้มีทีมผลิตรายการ 4 ทีมครับ)

รายการประวัติบุคคลที่ผมทำ หลายๆ คนที่สัมภาษณ์ ก็เคยออกรายการคนค้นคนมาแล้ว เท่าที่ฟังเค้าเล่า รายการคนค้นคนตามถ่ายเรื่องของเค้าราวๆ 3-4 เดือนของจริงฮะ เรียกว่าทิ้งให้ตากล้องกินนอนอยู่กับเค้าเลย
มีคนออกรายการตนนึงเล่าให้ฟังว่า ต้องตื่นตี 4 เพื่อออกไปฝึกซ้อม เปิดประตูบ้านออกมา เจอกล้องของคนค้นคนดักรออยู่แล้ว ทุ่มเทอย่างนี้ มิน่า รายการคนค้นคนออกมาถึงได้น่าประทับใจ

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
342
เงิน
7600
ความดี
5543
เครดิต
5628
จิตพิสัย
9319
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2014-02-12
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์3 ต้นฉบับโพสต์โดยnhongramaเมื่อ2012-09-13 21:59เผยแพร่ :
ตามมาอ่านติดๆ คร้าบ


ผมเคยรับงานสารคดี(อัต)ชีวประวัติบุคคล ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ และไม่เคยทำมาก่อน
ใช้เวลาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับถ่ายทำไปด้วยอยู่ 3 - 4 เดือน (นานเกิ๊น) กว่าจะทำรายการได้เท่าเทียมกับที่เค้าเคยทำไ้ว้ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าจะสร้างสรรค์ให้ดีด้วยซ้ำ
.......




รบกวนสอบถามครับ หากเราถ่าย 3-4 เดือน นี่ถ่ายเกือบทุกวันไหมครับ
ต้องเฝ้ากิจวัตรเลยหรือว่าตกลงกับคนให้สัมภาษณ์ และถ่ายทำ 3-4 เดือน
เป็นรายการแบบไหนครับ อย่างคนค้นคน ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ถ่ายนานแค่ไหนครับ
ผมเห็นรายการอย่าง ทุ่งแสงตะวัน หรือคนแกร่งหัวใจเก่ง ใช้เวลาถ่ายน้อยมากๆ
ที่ถามมากๆเพราะไม่รู้จริงๆนะครับ ขอบคุณครับ
โพสต์
37
เงิน
518
ความดี
466
เครดิต
407
จิตพิสัย
2582
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2012-09-14
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
148
เงิน
3793
ความดี
2253
เครดิต
2262
จิตพิสัย
4238
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ตามมาอ่านติดๆ คร้าบ


ผมเคยรับงานสารคดี(อัต)ชีวประวัติบุคคล ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ และไม่เคยทำมาก่อน
ใช้เวลาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับถ่ายทำไปด้วยอยู่ 3 - 4 เดือน (นานเกิ๊น) กว่าจะทำรายการได้เท่าเทียมกับที่เค้าเคยทำไ้ว้ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าจะสร้างสรรค์ให้ดีด้วยซ้ำ


รูปแบบรายการประกอบด้วย
1. พิธีกรเปิดรายการในสตูฯ
2. เสียงบรรยายประกอบภาพจากสถานที่จริง พร้อมเห็นกิจกรรมของเจ้าตัวผู้เป็นหัวเรื่องของตอน
3. สัมภาษณ์เจ้าตัว
4. ละครจำลองเหตุการณ์ในอดีต
5. Graphic เน้นประโยคคำคมที่สำคัญๆ
ซึ่งผู้ควบคุมรายการ เค้าขอให้เล่ารายการด้วยรูปแบบที่ 2-5 สลับกัน อย่าให้แต่ละรูปแบบนานเกิน 15 วินาที เพื่อให้ไม่คนดูเบื่อ


ตอนทำ Script ผมมาเจอวิธีล้อมคอกก่อนวัวหายคือ เอาเนื้อหาทั้งหมด มาแบ่งเป็นวันๆ ออกอากาศเสียก่อน พยายามเฉลี่ยให้มั่นใจว่า เนื้อหาแต่ละวันสามารถชักจูงให้คนดู ดูต่อได้จนจบวัน
แล้วถึงเอาเนื้อหาแต่ละวันออกอากาศที่แบ่งไว้ มาแบ่งเป็น Break คร่าวๆ เพื่อถ่วงน้ำหนักในแต่ละ Break ให้เท่าเทียมกันที่สุด น่าเบื่อน้อยที่สุด
แล้วถึงเริ่มลงมือเขียนเป็น Script โดยใช้รูปแบบ 2-5 สลับกันไปตามจังหวะของเนื้อหาครับ (เ้ฮ้อ... คนเรียนรุ้ช้า มันก็ทำงานซับซ้อนเช่นนี้แล)


ตอนถ่ายสัมภาษณ์ ก็พยายามให้เจ้าตัวพูดครอบคลุมทุกๆ รูปแบบไว้ ไม่ได้ให้พูดแค่ประเด็นที่ระบุไว้ในสคริปต์เท่านั้น เป็นการ Play Safe
ส่วนสำคัญที่สร้างสรรค์งาน ก็เลยมาอยู่ในขั้นตอน "ตัดต่อ" ครับ มีแหกสคริปต์ไปก็หลายครั้ง
และเสียงบรรยาย ผมต้องตัดต่อเกือบจะเสร็จก่อน ถึงจะรู้ว่าควรจะเขียนบทบรรยายยาวแค่ไหน เนื้อหาเป็นยังไง
ใช้ภาพประกอบเสียงบรรยายแก้ปัญหาเนื้อหาช่วงไหนที่มันตะกุกตะกักบ้าง
ใช้เชื่อมรอยต่อระหว่างช่วงที่ขาดตกบกพร่องบ้าง
และใช้เสียงบรรยายย่อเนื้อหาที่อาจจะยาวเกินเวลา ให้สั้นลงพอดิบพอดี
[ แก้ไขล่าสุดโดย nhongrama เมื่อ 2012-10-22 22:12 ]
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +1 ซ่อน
veenono ความดี +1 2014-02-12 -
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
597
เงิน
21443
ความดี
14319
เครดิต
16209
จิตพิสัย
11210
จังหวัด

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ดีๆ  คนเรายิ่งให้ยิ่งได้รับ ขอให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปครับ
ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
99
เงิน
3817
ความดี
2522
เครดิต
2434
จิตพิสัย
3445
จังหวัด
เชียงใหม่
ผมก็อยากลองเขียนบทสารคดีนะครับ แต่ที่ผ่านมาทำได้แค่ขึ้นโครงคร่าวๆ

เอาข้อมูลดิบไปวางไว้ในเรื่องคร่าวๆ เพราะทุกครั้ง ตอนลงทำสารคดี มันไม่เคยได้ตามบทสักที

สิ่งที่ผมได้จากการทำงานมาสักระยะคือ นักทำสารคดีที่ดี ต้องสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากๆ

เพราะบางเรื่อง บางอย่าง เรากลับไปถ่ายทำเพื่อแก้ไขไม่ได้แล้ว
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้