สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 19636เข้าชม
  • 28ตอบกลับ

เรียนเขียนบท 1 การสร้างเรื่องครับ

โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ

คราวที่แล้วพูดเรื่องแรงบันดาลใจไปแล้ว คราวนี้ลองมาต่อแบบเอาจริงเอาจัง แล้วก็ยาวๆดูบ้างครับ


แรงบันดาลใจ = วัถตุดิบ
หากเรามีแรงบันดาลใจแล้วก็เท่ากับว่าเรามีวัตถุดิบอยู่ในมือ

เรื่อง (story)
หลังจากที่เราใช้แรงบันดาลใจมาสร้างเรื่องคร่าวๆ  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องของเราเหมาะสมจะทำเป็นหนังไหม  ?
สื่อแต่ละแบบมีลักษณะเฉพาะของตัวมันเองครับ สำหรับหนังหรือภาพยนตร์นั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ภาพยนตร์คำจำกัดความของมันคือภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพที่เคลื่อนไหวไปมาได้
ถ้าเรื่องของเรา มีแต่ฉากตัวละครนั่งคิดคำนึง (ในรูปแบบของความรู้สึกเป็นหลัก) เรื่องนี้อาจจะเหมาะกับการเป็นนิยายมากกว่า แต่ถ้าเรื่องของเราเป็นประเภท เอะอะคุย... เอะอะคุย อันนั้นอาจจะเหมาะกับละครเวที หรือละครโทรทัศน์

ในหนังบทสนทนาเป็นสิ่งที่จำเป็นน้อยกว่าภาษาภาพ แต่มันควรจะมีเมื่อถึงเวลาที่ควรต้องมี การเล่าเรื่องหลักของหนังเกิดจากการใช้ภาพสื่อสารโดยตรงกับคนดู
แต่สำหรับนักเขียนมือใหม่ไม่อาจจะรู้ได้ว่าเรื่องของเราเหมาะที่จะทำเป็นหนังมั๊ย และถ้าผมบอกว่าเรื่องนี้ไม่เหมาะที่จะทำเป็นหนัง แน่นอนว่าคุณจะเถียงหัวชนฝา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะเป็นครูของเราคือต้องลองทำครับ แล้วสัญชาตญาณจะบอกกับเราเองว่ามันเหมาะมั๊ย...



การสร้างเรื่อง

หาหนังสักสองสามเรื่องมานั่งดู แล้วดูว่าเราเห็นอะไรในเรื่องของเขาบ้าง ลองแยกออกมาเป็นองค์ประกอบดูนะครับ
เรื่องในหนังทั่วๆไปจะมี

ตัวละครหลัก

ถ้าบ้านเราก็เรียกว่าพระเอกหรือนางเอก  แต่เราไม่จำเป็นต้องทำหนังที่มีคู่พระคู่นางก็ได้ แต่เราต้องมีตัวละครหลัก จะเดียวหรือกลุ่มก็ไม่ใช่ปัญหา
หนังอย่าง Harry potter  ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องของ แฮร์รี่ พ๊อตเตอร์  ไม่ใช่เรื่องของ รอน วิสลีย์ หรือ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ดังนั้นตัวละครที่เหลือก็จะกลายเป็นตัวสมทบไป เพราะว่าเรื่องราวหลักของเรื่องเราเล่าผ่าน แฮร์รี่ พ๊อตเตอร์ นายหม้อขนดก คนนี้คนเดียว
แต่ถ้าเป็นหนังอย่าง ID4 กลายเป็นหนังที่เล่าสถานการณ์ใหญ่ๆ มนุษย์ต่างดาวบุกโลก หนังเล่าแบบใช้ตัวละครหลักเป็นกลุ่ม ตัวละครเพียบเลย ทุกคนถูกเกลี่ยบทให้เด่นพอๆกัน
หนังในสายบันเทิง องค์ประกอบแรกที่ต้องมีและผู้เขียนบทต้องนึกถึงคือตัวละครหลักนี่แหละครับ คิดให้ชัดเจนว่าเรากำลังเล่าเรื่องของใครอยู่ก่อนลงมือเขียน

ความขัดแย้ง
ในเรื่องเล่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งสำคัญ ตัวละครหลักของเรามีความขัดแย้งกับใครหรือกับอะไร ลองนึกหนังที่ไม่มีความขัดแย้งอะไรเลยสิครับ ตักเอกอยากได้อะไรก็ได้ ทำอะไรก็ลื่นปรื้ด เนียนทั้งเรื่อง แล้วมันสนุกตรงไหนวะ นั่งๆดูไปจะมีแต่อิจฉามัน คนอะไรว้าโคตรเฟอร์เฟ็คท์เลย ไม่ดูแม่งแล้ว ดังนั้นความขัดแย้งนี่แหละครับที่เป็นตัวกระตุ้นความสนใจของคนดู อยู่ที่เรากำหนดแล้วล่ะว่าให้เขาขัดแย้งกับอะไรไม่ว่าจะเป็น ความขัดแย้งกับสิ่งแวดล้อม  ความขัดแย้งกับตัวเอง ความขัดแย้งกับคนอื่น อันสุดท้ายนี้ก็จะเกิดตัวละครอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่าตัวร้ายขึ้นมา

ตัวร้าย
ในหนังบันเทิงตัวร้ายจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคน ไม่จำเป็นต้องเป็นสัตว์ อาจจะเป็นภัยธรรมชาติก็ได้ ขึ้นอยู่กับเรื่องของเรา แต่ตัวร้ายยิ่งร้าย คนดูจะยิ่งเอาใจช่วยตัวเอก
เชื่อมั๊ยครับว่าแค่องค์ประกอบสามอย่างนี้ เราก็จะได้บทหนังมาแล้ว อาจจะยังไม่สมบูรณ์มาก แต่ก็เริ่มที่จะเป็นหนังที่ดูสนุกได้เรื่องหนึ่งแล้วล่ะ
เพราะฉะนั้นก่อนใส่องค์ประกอบอื่นๆลงไป ลองถามตัวเองก่อนว่า สามสิ่งที่เราได้คุยกันไปในขั้นต้น เรามีรึยัง ถ้ามีแล้วเขาเป็นใครหรืออะไรกันบ้าง (อันนี้คือหนังยาวที่เป็นรูปแบบสูตรบันเทิงนะครับ กฎที่ว่านี้สามารถหักได้ครับ
ไม่ทำตามก็ไม่มีใครว่า แต่สำหรับในหนังสั้นนั้นสูตรเหล่านี้ไม่จำเป็นเสมอไปครับ) เพื่อสร้างความชัดเจนก็ที่จะใส่องค์ประกอบอื่นๆเพื่อทำให้บทหนังของเราเป็นรูปเป็นร่างต่อไป

สถานการณ์
เป็นสิ่งที่เราต้องดีไซน์ครับ บอกไว้ข้อหนึ่งว่าสถานการณ์โดยส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่ภัยธรรมชาติแล้ว มักจะมีใครบางคนทำให้เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวละครหลัก หรือตัวละครผู้ร้าย หรืออาจจะเป็นตัวละครอื่นๆ  แต่ถ้าจะให้ดี มันไม่ควรเกิดขึ้นโดยบังเอิญครับ ควรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นเหตุเป็นผล

สถานการณ์จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง และสถานการณ์ก็จะเป็นตัวเปิดเผยบุคลิกของตัวละครของเราครับ ดังนั้นถ้าสถานการณ์ที่เราสร้างขึ้นดูเป็นเหตุเป็นผล คนดูจะเชื่อมากกว่าสถานการณ์ที่ลอยไปลอยมา เช่นว่า

ป๊อดกำลังจะกลับบ้าน ทั้งเนื้อทั้งตัวเขาเหลือเงินอยู่ 500 และกำลังจะเอาเงินนั้นไปให้เมีย ที่รออยู่ ระหว่างทางเขาโดนวิ่งราว
จากนี้ครับ ขึ้นอยู่กับและตัวละครที่เราวางเอาไว้แล้วล่ะว่าเขาจะทำยังไง จะเห็นได้ว่าตอนต้น เราไม่รู้หรอกว่าป๊อดเป็นคนยังไง เรารู้แต่ว่าเขาอาจจะเป็นคนหาเช้ากินค่ำ แต่สถานการณ์นี้แหละ จะเป็นตัวเปิดเผยพฤติกรรมของป๊อดให้เราเห็น

ป๊อดวิ่งตามคนร้ายไปอย่างไม่ลดละ จนจับตัวคนร้ายได้ เขาเอาเงินคืนและกระทืบคนร้ายจนสลบไป หรือ ป๊อดวิ่งตามไป แต่ไม่ทัน เขาเปลี่ยนใจวิ่งไปบอกตำรวจ แล้วนั่งมอเตอร์ไซด์ตามไปจนจับตัวคนร้ายได้ หรือ เขาทำอะไรไม่ถูก ได้แต่ยืนจ้องคนร้ายที่วิ่งหายไปในกลุ่มคน แล้วกลับบ้านไปโดนเมียด่า หรือ ป๊อดไม่วิ่งตามไป เขาเดินโซเซไปอย่างท้อแท้ และสุดท้ายไปจบที่ร้านยาดองแห่งหนึ่ง

ทั้งหมดนี้เราเป็นคนเลือกที่จะใส่ครับ โดยให้ตัวละครที่เราสร้างและวัตถุประสงค์ของเรื่องเป็นผู้ชี้นำเรา ครับ
แต่เห็นมั๊ยครับว่ามันเกี่ยวกับตัวละครอีกแล้ว...

วันนี้ลองนั่งคิดตัวละครที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องของเรากันดูนะครับ...


ในภาพยนตร์บันเทิงตามสูตรนั้น ไม่ว่าที่ไหนในโลก ความคิดทุกอย่าง เราจะถ่ายทอดผ่านตัวละคร ไม่ว่าตัวละครนั้นจะเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของ หรือ ของเล่น หุ่นยนต์ เพราะฉะนั้นถามใครว่าตัวละครไม่สำคัญ ผมเถียงขาดใจเลยครับ และภาระที่ยากอีกอย่างของคนเขียนบทนั้นคือการสร้างตัวละครนี่แหละ เขาคนนั้นที่จะดูจะต้องเฝ้าติดตามไปตลอด เขาเป็นใครในหนังของเรา

หลายครั้งนะครับที่เวลาผมเขียนบท ผมคิดสถานการณ์ไม่ออก ผมยังไม่ได้โครงสร้าง ผมมีเพียงแค่ไอเดีย กับ log line (เดี๋ยวจะอธิบายในบทถัดไปครับ) ผมจะเปลี่ยนแนวทางมานั่งง่วนกับตัวละครหลักของผมก่อน หาให้เจอว่าเขาเป็นใคร แล้วให้เขามาเป็นผู้ช่วยของเราในการสร้างสรรค์สถานการณ์ นั่นแหละครับที่ผมทำ....

การสร้างตัวละคร
ลองมองไปรอบๆตัวเราสิครับ ทุกๆคนที่อยู่รอบๆตัวเรา ก็คือพระเอกหรือนางเอกของหนังชีวิตของเขาเอง บางวันชีวิตเขาเป็นหนังแอคชั่น บางวันเป็นหนังสยองขวัญ บางวันเป็นหนังรักโรแมนติก ทุกชีวิตที่เรามองเห็นต่างมีประสบการณ์ของตนเองที่หล่อหลอมตัวเขาขึ้นมา ให้เขากลายเป็นเขาในแบบที่เราเห็น ไม่มีใครที่ถูกจับยัดอะไรไป พวกเขามีชีวิต มีประสบการณ์ มีความคิด มีมุมมอง

ตัวละครของเราก็เช่นกันครับ

แบบฝึกหัดเล็กๆที่ผมเคยทำสมัยเรียนภาพยนตร์ที่ลาดกระบัง อาจารย์เขาจะให้เราค้นหาตัวเองก่อนครับ ก่อนที่จะสร้างคนอื่น หรือหาอะไรจากคนอื่น เราต้องค้นหาตัวเองก่อนครับ ทำได้โดยการเขียนประวัติของตัวเอง ยิ่งละเอียดได้ยิ่งดี เอาตั้งแต่เกิดเลย แล้วเน้นที่เหตุการณ์สำคัญๆในชีวิตที่เราคิดว่ามีผลต่อตัวเราในทุกวันนี้ แรงบันดาลใจ และทุกๆอย่าง เขียนมันออกมาเลยครับ

หลังจากที่เราเขียนได้ เราค่อยๆย่อมันลงมา ให้สั้นลง จาก 10 หน้าให้เหลือ 3 หน้า 3หน้า เหลือ 1 หน้า 1 หน้าเหลือครึ่งหน้า แล้วเหลือ 3 บรรทัดหัวใจของเรา
จากนั้นลองดูเหตุการณ์สำคัญของเรา ที่ผ่านมาแล้วและจบไปแล้วนะครับ สมมุติว่าตอนนั้นเป็นหนังสั้นๆหนึ่งเรื่อง แล้วดูว่าตอนนั้นเราเป็นยังไงกับหัวข้อที่ผมจะให้ต่อไปนี้

1. มุมมอง ของเราในตอนนั้นเป็นอย่างไร (อันนี้มีผลจากอดีตและการหล่อหลอมครับ)
2. ความต้องการ ตอนนั้นเราต้องการอะไร (และจะทำทุกอย่างที่ให้ได้มา)
3. ความขัดแย้ง/อุปสรรค ของเราในตอนนั้นคืออะไร หนักหน่วงขนาดไหนในความรู้สึกเรา
4. ความเปลี่ยนแปลง เมื่อเหตุการณ์ตอนนั้นมาสู่จุดคลี่คลาย... เราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ทั้งทัศนคติ มุมมอง และด้านกายภาพ

ถ้าสรุปทุกอย่างนี้ได้นะครับ เราก็ทำแบบเดียวกันกับตัวละครทุกตัวที่เรากำลังจะสร้างขึ้น คือ

1. ทำประวัติชีวิตของเขา วางเหตุการณ์สำคัญๆที่มีผลต่อทัศนคติและมุมมอง
2. ทำตารางกายภาพ เขามีหน้าตาอย่างไร สูงต่ำดำเตี้ยอย่างไร อายุเท่าไหร่ อาชีพ สถานะทางสังคม รวมไปถึงว่าเขาชอบฟังเพลงแนวไหน ชอบกินอะไร เกลียดอะไร ใส่เสื้อผ้าแบบไหน ชุดชั้นในด้วยนะครับ เขาอาศัยอยู่ที่ไหน บ้านใหญ่ หรืออพาร์ทเมนท์ นิสัยแปลกๆเวลาอยู่คนเดียว (ชอบม้วนผมเล่น ชอบกินขี้มูกตัวเอง) ทุกอย่างครับ
3. จากนั้นย่อให้เหลือประโยคสำคัญ เขียนใส่โน๊ตแล้วแปะไว้หน้าคอมของเรา หรือข้างฝา  เราจะได้บุคลิก ลักษณะของเขาแล้ว
4. เราเอาเขากลับมาใส่ในเรื่องของเรา โดยที่เราต้องสร้าง มุมมอง ความต้องการ ความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับตัวเขา ให้ทั้งสี่ข้อนี้มีคำตอบในใจนะครับ
5.ให้เขาหรือเธอผจญภัยไปพร้อมๆกับเราเลย ระหว่างที่เขียนบทวางโครงหรือทำอะไรก็ตาม ให้ตัวละครของเรามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนในการก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ คอยฟังเสียงของตัวละครของเราไว้นะครับ ถ้าเขาบอกว่าไม่ เราต้องไม่ดื้อนะครับ ลองทำตามเขาดู

พูดอย่างนี้เหมือนคนบ้ามั๊ยครับ...!? แต่เชื่อผมเถอะครับ ถ้าคุณเป็นคนที่รักการเขียนบท สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงๆ คอยตั้งใจฟังเขาดีๆล่ะ เมื่อเขียนๆไปถ้ารู้สึกว่าไม่เชื่อสิ่งที่ตัวเองเขียน มันเป็นไปไม่ได้ ตัวละครของเราไม่ทำอะไรโง่ๆพรรค์นั้นหรอก ก็หยุดครับ ไปหาอะไรทำสบายๆ แล้วค่อยกลับมาเขียนต่อก็ได้ครับ

ที่พูดมาทั้งหมดนี้เป็นแค่เทคนิค เป็นแค่เครื่องมือนะครับ ถ้าคุณยังไม่มีเครื่องมือของคุณเอง ก็ลองเอาไปใช้ เผื่อจะได้ผลขึ้นมาบ้าง และอาจจะค้นพบเครื่องมือในการสร้างตัวละครของคุณเอง ถ้ามีวันนั้นแล้วบอกกันด้วยนะครับ เผื่อจะลองเอามาใช้บ้าง อิอิ
แต่ถ้าคุณมีเครื่องมือ หรือวิธีการของคุณแล้ว ก็จงดำเนินต่อไปเลยครับ ทำตามความเชื่อของคุณครับ
เอามาแลกเปลี่ยนแนวทางกันก็ดีนะครับ...


สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการสร้างตัวละคร

ตัวละครที่แบนราบ  
นี่ไม่ได้หมายถึงหน้าอกหน้าใจแต่อย่างใดครับ แต่หมายถึงตัวละครที่มีเพียงด้านเดียว ไม่มีเหตุผลในเชิงลึกรองรับ มันคือตัวละครที่จืดชืดและน่าเบื่อ มองรอบรอบตัวเราสิครับ มันไม่มีหรอกคนประเภทนี้ ถึงมีเราก็คงไม่คิดจะคบมันเป็นเพื่อนหรอก ตัวละครประเภทนี้บอกแนวความคิดของคนเขียนบทได้สองอย่างคือ 1.ขี้เกียจ 2.เป็นคนมองโลกด้านเดียว ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเขียนบทหนัง

ตัวละครที่ไม่มีข้อบกพร่องเลย  
มันไม่มีหรอกครับคนแบบนั้น ถึงมีก็คงน่าหมั่นไส้น่าดู คนเรามันต้องมีอะไรซักอย่างสิครับที่เป็นข้อบกพร่อง ผมมองตัวเองนี่เจอไปร้อย อ๊ะ...ไม่สิเป็นล้าน แล้วผมก็เป็นพระเอกในชีวิตของผมเองด้วย ความบกพร่องของเขาทำให้ตัวละครสมจริงครับ

ตัวละครที่ไม่มีเป้าหมาย  
อันนี้ในหนังบันเทิงนะครับ ถ้าตัวละครไม่มีเป้าหมาย จะให้ผมดูอะไรล่ะครับ นั่งดูคนใช้ชีวิตไปวันๆ เหรอครับ  แม้แต่ฟอร์เรสต์ กัมต์ จริงๆแล้วเขายังมีเป้าหมายเลยครับ ผมเอาเวลาสองชั่วโมงมานั่งดูคนที่ไม่มีเป้าหมายอะไรในชีวิต เสียเวลานะเนี่ย

ตัวละครที่คุ้นเคย/ซ้ำซาก/จำเจ
อันนี้หมายถึงตัวละครที่ไม่เป็นตัวของตัวเองแต่เป็นตัวของตัวอื่น แบบว่าคนเขียนเห็นงานของชาวบ้านมาแล้วชอบแล้วก็ใส่ตัวละครอย่างนั้นลงไป มันก็จะเกิดเป็นตัวละครที่ซ้ำครับ คนดูคุ้นเคย แต่เขาไม่เป็นตัวละครที่เป็นของเราเลย (หาดูได้จากละครทั่วไปนะครับ ตัวละครแบบนี้คลานตามกันมาเต็มไปหมด พระเอกมาดนุ่ม นางเอกแสนดีที่วันๆไม่ทำอะไร ตัวอิจฉาเสียงนกแก้ว คนใช้ที่คอยทำตลก แม่ผัวที่วันๆคิดแต่เรื่องมรดก) เราเคยเห็นพวกเขามาแล้วใช่มั๊ย อะไรที่เป็นแพทเทิร์นมันน่าเบื่อนะครับ เมื่อตัวละครเหล่านี้ปรากฏตัวขึ้น มันมักแสดงถึงความไร้จินตนาการของคนเขียน และความขี้เกียจ มีนิสัยชอบลอกตามคนอื่น ริเริ่มสิ่งใหม่ๆเถอะครับ ไม่ยากหรอกครับ สร้างเขาขึ้นมาจากตัวคุณแล้วเขาจะไม่เหมือนใคร


ตัวละครที่ไม่มีเสน่ห์  
เรื่องนี้ก็สำคัญครับ แต่ให้เป็นตัวร้ายหรือตัวเอก ก็จำเป็นที่น่าจะต้องมีเสน่ห์เฉพาะตัว ดูอย่างตัวละครอย่าง เฟร็ดดี้ ครูเกอร์ นั่นปะไร มีเสน่ห์เหลือหลาย อารมณ์ขันที่ตัวละครตัวนี้มีอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ทำให้ตัวละครนี้อยู่ยงคงกะพัน หรือถ้าอย่างหาตัวอย่างหนังที่ตัวละครมีเสน่ห์ ก็ลองดูหนังของเควนติน ตารันติโน่ดูครับ แล้วจะเห็นว่าเสน่ห์ของตัวละครแต่ละตัว มันเกิดขึ้นจากบนกระดาษจริง ถ้าตัวละครของเราไม่มีเสน่ห์แล้วนั้น หนังมันจะไม่น่ามองครับ ตัวละครจะไม่น่าสนใจ ลองปรุงดูนะครับ

ตัวละครที่ไม่เป็นอิสระ
จำไว้ว่า ตัวละครที่เราสร้างไม่ใช่ทาสของเรานะครับ พวกเขาจะทำในสิ่งที่เราคิดไม่ถึง พอเราเขียนไปซักพักตัวละครของเราจะเริ่มมีชีวิตของพวกเขาเอง ถึงตอนนั้นเราดูแลอยู่ห่างๆปล่อยให้เขาของทำตามใจดูบ้าง แต่ถ้านอกลู่นอกทางมากไปก็ดึงเขากลับมาให้อยู่ในเรื่องของเรา อย่าบังคับ กักขัง หน่วงเหนี่ยวเขาครับ...
เมื่อไหร่ที่เราบังคับเขา เขาจะทำในสิ่งที่เลวร้ายคนดูจะไม่เชื่อในตัวละครของเรา และนั่นจะทำให้หนังของเราก้าวสู่หายนะครับ... (อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะว่าผมบ้าและไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมกำลังพูดถึง นั่นแปลว่าคุณยังไม่เขียนบทครับ ลองเขียนดูครับแล้วคุณจะรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ วันไหนที่ตัวละครเริ่มมีชีวิต และเริ่มดื้อกับคุณโทรมาบอกกันนะครับ คุณก้าวไปอีกขั้นแล้วล่ะ)
อย่าลืมนะครับ...การเขียนบทคือการร่วมมือระหว่างเรากับตัวละครของเรา



สรุปเกี่ยวกับตัวละคร
(อันนี้ขอยืมมาจาก คริสโตเฟอร์ คีน จากหนังสือ บทภาพยนตร์ : เขียนอย่างไรให้ทำเงิน แปลโดย คุณมณิศา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา กับคุณ ศศิพร หมั่นเจริญลาภครับ)

1. ไม่มีอะไรผลักดันเรื่องให้เดินหน้าไปได้นอกจากความขัดแย้ง
2. ให้ตัวละครเอกของเราอยู่ในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุดในชีวิต ไม่เช่นนั้นเรื่องก็ไม่มีคุณค่าพอที่จะถ่ายทอด
3. ตัวละครเอกต้องเผชิญกำอำนาจที่แข็งแกร่งกว่าตัวเขา
4. ตัวละครจะอยู่ตามลำพังไม่ได้ ให้เขามีใครซักคนไว้แบ่งบันความฝัน ความปรารถนา ไว้พูดคุย
5. เขาอาจจะได้พบกับความรัก หรือต้องอดทนกับการสูญเสียคนรักไปถ้าเขาจัดการกับการกระทำของเขาไม่ได้
6. ตัวละครจะถูกบังคับให้เผชิญกับปีศาจภายในจิตใจตนเอง เพื่อให้ได้รู้ว่าทำไมเขาแก้ปัญหาในอดีตของเขาไม่ได้
7. สร้างตัวละครจากเวลาที่เขาถือกำเนิดขึ้นมา จนเราได้พบกับพวกเขาในหน้าแรกของเรื่อง ที่พวกเขาเตรียมตัวมาตลอดชีวิตเพื่อรอพบช่วงเวลานี้
8. ความร่วมมือที่สำคัญยิ่งในการเขียนบท คือความร่วมมือระหว่างเรากับตัวละครของเรา

สุดท้ายฝากไว้นะครับ ...ว่างานเขียนนั้นยากมากแต่ไม่ยากเกินที่จะทำครับ
เริ่มตัวอักษรตัวแรกให้ได้ เดี๋ยวที่เหลือมันจะตามมาเอง...

โคตรวิชาการและยาวหน่อยนะครับวันนี้ พอดีสงกรานต์ไม่ได้ไปไหนนั่งตัดหนังอยู่กับบ้าน เวลาตันๆก็หันมาพิมพ์ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วยความเคารพ
โพสต์
1858
เงิน
56103
ความดี
46498
เครดิต
51231
จิตพิสัย
52476
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

โอ้ยยยยย.....มีประโยชน์มากมาย บางอย่างก็ไม่เคยคิดมาก่อน
อ่านงานเขียนคุณ foolmoon ทำให้ผมมองเห็นการเขียนบทขึ้นอีกมุมนึงนะครับ
นอกจากมุมมั่วของตัวเองที่เขียนมาตลอด.....

....ขอบคุณมากนะครับ....
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

อันนี้เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานให้เรารู้จักก่อนครับ พอเข้าใจมันแล้ว งานศิลปะทุกอย่างล้วนหักบิดงอหลักเกณฑ์ทุกสิ่งได้ถ้ามีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
ด้วยความเคารพ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

สุขสันต์วันสงกรานต์เช่นกันครับ
เนื้อหาดีมีสาระทุกตอน ผมไม่ถนัดงานเขียนเลยครับ ต้องเรียนรู้อีกเยอะ ขอบคุณมากๆครับ
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2010-04-14
ผมเชิงเทคนิคก็แย่ครับ 555 ยิ่งเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้นี่เล่นเอามึนตลอดเลยเลยครับ ถ้าแนวสร้างสรรค์ค่อยคุยกันได้หน่อย หุหุ
ด้วยความเคารพ
โพสต์
179
เงิน
18931
ความดี
11424
เครดิต
11534
จิตพิสัย
11479
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2010-04-14
ความคิดสร้างสรรค์สำคัญมากครับ เปรียบเป็นแกนหลักของงานศิลปะเลยนะครับ
เทคนิคเป็นส่วนเสริมทำให้ทำงานง่ายและดียิ่งขึ้นครับ เท่าที่เห็น เทคนิคเดิมๆก็ยังเป็นที่นิยมครับ ทำง่ายและเข้าถึงได้ง่าย  
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
21
เงิน
907
ความดี
1044
เครดิต
963
จิตพิสัย
1010
จังหวัด
ปทุมธานี

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2010-04-15
ขอบคุณมากจ้าาาา ได้ความรู้มากๆ กำลังทึบอยู่พอดีเลย
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
1
เงิน
12
ความดี
71
เครดิต
12
จิตพิสัย
41
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2010-04-17
ขอบคุณที่อ่านผลงานของเราสองคน และรู้สึกดีใจค่ะที่หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์กับหลายๆคนค่ะ

ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2010-04-17
ตอบกลับโพส 7 โพสของ (sasipornm)
ขอบคุณครับ
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2010-04-17
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 7 ต้นฉบับโพสโดย sasipornm เมื่อ 2010-04-17 08:28  :
ขอบคุณที่อ่านผลงานของเราสองคน และรู้สึกดีใจค่ะที่หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์กับหลายๆคนค่ะ




'ว๊าว...ได้เจอคนแปลตัวจริงเสียง

เดี๋ยวนี้หนังสือสอนทำหนังที่เป็นภาษาไทยดีดี ที่ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้หายากจังครับ

ต้องขอบตุณมากๆครับ เพราะทั้งสามเล่มในซีรีย์สนี้เป็นตำราอ้างอิงชั้นดีเวลาผมไปสอนเลย
ด้วยความเคารพ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
221
เงิน
7782
ความดี
5272
เครดิต
5353
จิตพิสัย
6291
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-13
คุณภาพๆ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
273
เงิน
8194
ความดี
6242
เครดิต
6022
จิตพิสัย
8258
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 11#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-13
ขอบคุณมากครับ ธรรมดาผมก็เป็นคนสร้างเรื่องเก่งอยู่แล้ว แต่มันออกมาไม่เป็นบทนะ

ทีนี้จะได้สร้างเรื่องที่เป็นบทซะที
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
366
เงิน
12066
ความดี
13389
เครดิต
13802
จิตพิสัย
13834
จังหวัด
พิษณุโลก
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 12#  โพสต์เมื่อ: 2011-01-30
ขอบคุณมากครับ อ่านแล้วทำให้รู้ว่า เรือจ้างที่ดีไม่ได้มีแค่ในโรงเรียนหรือ มหา'ลัย...
โพสต์
1036
เงิน
21774
ความดี
14792
เครดิต
14177
จิตพิสัย
24522
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 13#  โพสต์เมื่อ: 2011-01-30
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีดี ขอเก้บไว้ก่อนเด่วมีเวลาจะมาอ่านแน่นอน
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
30
เงิน
2031
ความดี
416
เครดิต
392
จิตพิสัย
335
จังหวัด
สงขลา
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 14#  โพสต์เมื่อ: 2011-08-27
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้