สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 2460เข้าชม
  • 1ตอบกลับ

ตอนที่ 2 ข้อมูลเรื่องของเสียง คุณสมบัติของไมค์

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
192
เงิน
407
ความดี
2401
เครดิต
1669
จิตพิสัย
1859
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
[font=&quot]

[font=&quot]ไมโครโฟน

[font=&quot]            ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะได้พิจารณากล้องวิดีโออย่างละเอียดถี่ถ้วนเพียงใดก็ตามแต่ทว่าคนส่วนมากทั่วไปแล้วจะไม่ได้ให้ความสนใจตัวไมโครโฟนเท่าที่ควร  อย่างมากแค่มองผ่านไปเลยไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก  ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นหัวใจของระบบเสียงของการผลิตรายการโทรทัศน์
[font=&quot]ถ้าหากว่ามันไม่ได้มาตรฐานหรือชำรุดเสียหายแม้กระทั่งไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องก็ตาม  คุณภาพของเสียงที่ได้รับออกมาก็จะย่อมไม่สมบูรณ์ไปด้วย  และไม่มีระบบการทำงานของระบบเสียงใดๆจะสามารถชดเชยความเสียหายให้กับคุณภาพของเสียงที่ได้รับจากไมโครโฟนที่ไม่สมบูรณ์ได้
[font=&quot]            มีไมโครโฟนให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภทและรูปแบบ  ทั้งหมดย่อมทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า   แต่การเลือกนำมาใช้งานต้องศึกษารายละเอียดและคุณสมบัติให้ถี่ถ้วนเพื่อที่จะได้รับผลตรงตามความต้องการ  
[font=&quot]คุณลักษณะด้านทิศทางการรับเสียง
[font=&quot]             ไมโครโฟนแต่ละประเภทมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป  บ้างก็ถูกออกแบบให้รับเสียงได้รอบตัวทุกทิศทางในขณะที่อีกประเภทหนึ่งได้รับการออกแบบให้รับเสียงได้เฉพาะทิศทางที่กำหนด  สำหรับข้อดีของชนิดที่รับเสียงได้รอบตัวก็คือมันสามารถรับเสียงได้เป็นบริเวณกว้าง  ถ้าในกรณีที่ต้องการใช้รับเสียงจากคนกลุ่มใหญ่หรือว่าเป็นคนเดียวแต่เคลื่อนไหวไปรอบบริเวณ  แต่ทว่าข้อเสียของมันก็คือไม่สามารถเลือกรับเสียงที่ต้องการหรือหลีกเลี่ยงเสียงที่ไม่ต้องการได้เช่นเสียงรบกวนรอบข้างหรือว่าเสียงที่เกิดจากการสะท้อนกลับมาจากผนัง  ดังนั้นการใช้งานจำเป็นต้องให้อยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงที่ต้องการมากที่สุด  ไมโครโฟนชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เก็บเสียงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
[font=&quot]            ในการใช้งานไมโครโฟนชนิดที่มีรูปแบบการรับเสียงแบบทิศทางด้วยการหันด้านรับเสียงไปยังแหล่งกำเนิดเสียง  มันสามารถที่จะปฏิเสธการรับเสียงด้านอื่นที่ไม่ต้องการได้ทำให้ได้รับเสียงที่สะอาดแจ่มใส  ถ้าพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่งแล้วการใช้งานไมโครโฟนประเภทนี้จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องการหันด้านที่รับเสียงอย่างถูกต้องแม่นยำ  และที่สำคัญแหล่งกำเนิดเสียงต้องไม่เคลื่อนไหวออกจากตำแหน่งการรับเสียงด้วย  รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนชนิดมีทิศทางเป็นประเภท cardioid [font=&quot]หรือ hyper cardioid[font=&quot] จะสามารถจำกัดการรับเสียงจากด้านหลังได้ดี
[font=&quot]ไมโครโฟนที่นิยมใช้กัน
[font=&quot]          [font=&quot]การเปลี่ยนพลังงานคลื่นเสียงให้เป็นพลังงานไฟฟ้ามีวิธีการอยู่สองทางเลือกใหญ่เท่านั้นคือ electrodynamic  and  electrostatic [font=&quot]สำหรับชื่อที่รู้จักกันทั่วไปคือไมโครโฟนแบบไดนามิคและไมโครโฟนแบบคอนเด็นเซอร์
[font=&quot]            ไดนามิคไมโครโฟนส่วนใหญ่มักแข็งแรงทนทานและให้คุณภาพเสียงดี  เสียงไม่ค่อยเพี้ยนได้ง่ายในกรณีที่รับเสียงค่อนข้างดังเช่นนำไปไว้รับเสียงกลอง  ไมโครโฟนเหล่านี้ต้องการการดูแลรักษาพอประมาณสามารถจับถือด้วยมือโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเสียงรบกวนที่เกิดจากมือผู้ใช้  หรืออาจนำไปใช้งานแบบติดตั้งเข้ากับขาตั้งก็ได้
[font=&quot]            สำหรับคอนเด็นเซอร์ไมโครโฟนสามารถให้คุณภาพเสียงที่สูงมากและมีความเหมาะสมสำหรับใช้เก็บเสียงจากเครื่องดนตรีแทบทุกชนิด  จุดเด่นที่สำคัญของมันก็คือสามารถทำให้มีขนาดเล็กมากมีความเหมาะสมในการทำงานสำหรับวิดีโอได้ดี  โดยปกติแล้วจำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้กับมันด้วยอาจเป็นแบตเตอรี่ขนาดเล็กหรือจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกก็ได้  นอกจากนี้ยังมีชนิดที่ไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายพลังงานให้ก็มีเพราะว่าทางโรงงานผู้ผลิตได้ทำการประจุพลังงานแบบถาวรมาให้แล้ว  ไมโครโฟนชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า electret condenser  microphone

[font=&quot]ขาจับขาตั้งและสิ่งที่รองรับไมโครโฟน
[font=&quot]ไมโครโฟนติดกล้อง
[font=&quot]          [font=&quot]ถ้าหากว่าตัวกล้องมีไมโครโฟนติดมาด้วย  ในทางทฤษฎีแล้วเมื่อเราหันกล้องไปจับภาพตรงไหนตัวไมโครโฟนก็ควรรับเสียงอย่างมีคุณภาพของบริเวณนั้นด้วย  แต่ทว่าอย่างไรก็ดีทั้งหมดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและรูปแบบของเสียงที่เกี่ยวข้อง  ไม่มีอะไรที่จะสมบูรณ์พร้อมไปทุกอย่างแม้ว่าเราจะใช้ไมโครโฟนคุณภาพสูงและติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก็ตาม  การทำงานแบบตัวคนเดียวและเคลื่อนไหวตำแหน่งและมุมกล้องไปรอบๆตลอดเวลาย่อมทำให้เสียงที่ได้รับแตกต่างกันไปด้วย
[font=&quot]            รูปแบบอย่างง่ายที่สุดของไมโครโฟนติดกล้องก็คือมีขนาดเล็กและติดไว้ด้านหน้าของตัวกล้อง  ตัวไมโครโฟนแบบนี้ย่อมเก็บเสียงทีอยู่รอบตัวกล้องไปด้วย   รวมทั้งเสียงรบกวนที่เกิดจากการทำงานของเลนส์ซูมและรวมไปถึงเสียงที่เกิดจากตัวช่างกล้องเอง  ข้อควรระวังของไมโครโฟนประเภทนี้ก็คือมันเหมาะสมต่อการใช้งานเก็บเสียงบรรยากาศสภาพแวดล้อมเช่นสภาพการจราจรหรือฝูงชนและเกือบจะดีพอถ้าให้ผู้พูดอยู่ใกล้ตำแหน่งไมโครโฟนมากๆ  มันควรจะถูกใช้งานสำหรับเสียงคนพูดก็ต่อเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเท่านั้น  ลองทดสอบด้วยวิธีการให้ผู้พูดอยู่ห่างจากกล้องเพียงสองเมตรก็จะเกิดอาการที่มีแต่เสียงรบกวนอื่นเข้ามาจนฟังเสียงพูดไม่รู้เรื่อง
[font=&quot]            ไมโครโฟนที่ใช้ติดกล้องส่วนใหญ่นิยมใช้ประเภทช้อตกันไมโครโฟน  โดยมีสายนำสัญญาณเสียบเข้ากับตัวกล้อง(external mic.)[font=&quot] ตัวไมโครโฟนชนิดนี้สามารถรับเสียงจากระยะไกลได้ดีแต่จำเป็นต้องให้เล็งตรงทิศทางและแม่นยำด้วย  ข้อพึงระวังและควรใส่ใจก็คือ  ตามปกติแล้วระยะห่างของตัวไมโครโฟนกับแหล่งกำเนิดเสียงถูกตัดสินโดยการเลือกมุมภาพและขนาดของภาพ   ประการถัดมาในขณะทีมีการปรับเลนส์เพื่อซูมภาพเข้าออกตำแหน่งของไมโครโฟนยังอยู่ที่เดิมดังนั้นระดับของเสียงที่ได้รับจะเท่ากันตลอด  ประการสุดท้ายไมโครโฟนที่ติดอยู่กับกล้องไม่สามารถเลี้ยวหมุนตามบุคคลที่เดินอยู่แล้วเปลี่ยนทิศทางดังนั้นระดับของเสียงและคุณภาพเสียงที่ได้รับย่อมไม่คงที่
[font=&quot]ไมโครโฟนชนิดมือถือ
[font=&quot]             ไมโครโฟนชนิดนี้เป็นแบบที่คุ้นเคยกันดีและมักเห็นได้จากจอโทรทัศน์บ่อยๆไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์หรือนักร้องและการบรรยาย  มันมีรูปแบบที่เรียบง่ายวิธีการรับเสียงที่สะดวกขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน  การจับถือที่เหมาะสมควรอยู่ทีระดับต่ำกว่าไหล่และชี้ด้านปลายไปยังผู้พูดและไม่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่าที่จะเป็นได้
[font=&quot]            เพื่อเป็นการลดเสียงรบกวนที่เกิดจากลมและเสียงลมหายใจหรือเสียงริมฝีปากในขณะทีอยู่ใกล้ชิดกับปากเกินไปควรใช้อุปกรณ์ป้องกันประเภทฟองน้ำห่อหุ้มไว้ด้วย(windshield)[font=&quot]และควรพูดผ่านเหนือไมโครโฟนมากกว่าที่จะพูดใส่ตรงหน้าไมโครโฟนจะได้รับคุณภาพเสียงที่ดีกว่า  สำหรับไมโครโฟนมือถือชนิดที่มีรูปแบบการรับเสียงชนิด cardioid [font=&quot]สามารถช่วยลดเสียงที่ไม่ต้องการด้านหลังได้อยู่แล้วเราจึงสามารถยืดระยะห่างออกจากผู้พูดได้มากกว่า 12 [font=&quot]นิ้ว  ในขณะที่ไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับสียงชนิด omnidirection [font=&quot]จำเป็นต้องอยู่ใกล้กับปากมากกว่าและไม่ควรห่างเกินกว่า 9 [font=&quot]นิ้ว
Shotgun microphone
          [font=&quot]หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า hypercardioid [font=&quot]ประกอบด้วยตัวท่อทีเจาะช่องเล็กๆเอาไว้และมีไมโครโฟนแบบคอนเด็นเซอร์ติดตั้งเอาไว้ทีปลายท่ออีกด้านหนึ่ง   ไมโครโฟนชนิดนี้ได้รับการออกแบบให้เก็บเสียงด้วยมุมองศาแคบๆ  ในขณะทีมีผลต่อเสียงทิศทางด้านอื่นน้อยมากเพื่อทำหน้าที่เก็บเสียงเฉพาะจุดที่ต้องการเท่านั้น  ในสถานที่การถ่ายทำที่มีสภาพแวดล้อมแบบมีเสียงก้องกังวานมากแล้วไมโครโฟนชนิดนี้มีข้อดีเพราะสามารถเลือกเก็บเฉพาะเสียงที่ต้องการเท่านั้นในขณะเดียวกันมันยังสามารถลดเสียงไม่ต้องการที่เกิดจากการสะท้อนกลับ  แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งใช้งานและยังขึ้นอยู่กับความถี่เสียงที่แตกต่างอีกด้วย
[font=&quot]            การนำเอาไมโครโฟนแบบนี้ไปใช้งานควรคำนึงข้อปฏิบัติดังนี้  ควรมีอุปกรณ์จับยึดชนิดป้องกันการสั่นสะเทือนได้ดีและจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงลมควบคู่การใช้งานเสมอในกรณีทีนำไปใช้ภายนอก
[font=&quot]            เลือกตำแหน่งการวางหรือการถือไมโครโฟนที่ดีที่สุดถ้าเป็นไปได้ควรมีการวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน  ในการนี้ผู้ควบคุมไมโครโฟนจำเป็นต้องมองเห็นกิจกรรมโดยไม่มีอะไรมาบดบังและถ้ามีต้องสามารถเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งอื่นได้
[font=&quot]            การใช้ขาบูมจับยึดไมโครโฟน(boompole  or fishpole)[font=&quot]เริ่มจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นเพื่อใช้ทำการเก็บเสียงทั้งจากภายนอกสถานที่และในห้องสตูดิโอ  ด้วยท่อนอลูมิเนียมที่มีความยาวตั้งแต่หกถึงเก้าฟุตสามารถปรับยืดหดได้แล้วติดไมโครโฟนไว้ที่ปลายด้านหนึ่งเพื่อเลือกเก็บรับเสียงจากตำแหน่งใดๆที่ต้องการ
Lavalier or Lapel or Clip-on microphone
[font=&quot]             ไมโครโฟนประเภทนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้ในงานผลิตรายการโทรทัศน์มากขึ้นในกรณีที่ไม่ต้องการให้ผู้ชมสังเกตุเห็นตัวรับเสียงเนื่องจากว่ามันมีขนาดที่เล็กมากจนกระทั่งนำไปติดไว้กับเสื้อผ้าได้เลย  แม้ว่าจะมีขนาดเล็กไม่ก่อให้เกิดความรำคาญและมีคุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมก็ตาม  แต่การใช้งานก็เป็นต้องใช้อย่างสุขุมรอบคอบเพื่อให้ได้รับประสิทธิผลมากที่สุด  เช่นการนำเอาตัวไมโครโฟนไปติดไว้กับเสื้อผ้าแล้วมีเสียงรบกวนจากการขยับตัวของผู้สวมใส่เอง
[font=&quot]            การนำเอาไมโครโฟนไปติดเสื้อผ้าของผู้ใดก็จะรับเสียงได้จากผู้นั้นเท่านั้น  ถ้าหากว่าผู้พูดมีหลายคนก็จำเป็นต้องติดไมโครโฟนทุกคนด้วย  ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าไมโครโฟนจะไม่สามารถรับเสียงพูดคนอื่นได้แต่มันจะได้รับคุณภาพของเสียงที่ไม่เท่ากันมากกว่า  สำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนมากควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงลมด้วย
[font=&quot]            นอกจากใช้งานกับคนแล้วยังสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้านอื่นอีกด้วยเช่นในงานกีฬา เราสามารถนำเอาไปติดไว้ที่ตาข่ายของประตู  หรือถ้าเป็นงานดนตรีก็สามารถนำไปติดไว้ที่ชิ้นส่วนของเครื่องดนตรีนั้นได้เลย
Boundary or pressure zone microphone
          [font=&quot] เป็นไมโครโฟนชนิดที่มีลักษณะแบนๆสามารถใช้งานเพื่อรับเสียงจากผู้แสดงหรือผู้พูดทีอยู่ห่างออกไปได้ไม่น้อยกว่าหกฟุตและไม่ก่อให้เกิดอาการเสียงที่ปราศจากน้ำหนักดังเช่นไมโครโฟนแบบมือถือ  ถึงแม้ว่าไมโครโฟนชนิดนี้จะใช้เทคโนโลยีทีแตกต่างไม่เหมือนกันแต่สามารถนำมาใช้งานได้เหมือนกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานการผลิตละครที่ไม่ต้องการให้เห็นไมโครโฟน(สามารถติดตั้งไว้ด้านหลังฉากได้)  นอกจากนี้มันยังเหมาะสมกับการแสดงบนเวทีขนาดใหญ่ที่มีผู้แสดงจำนวนมากอีกด้วย  การใช้งานก็ไม่ยุ่งยากแค่เพียงนำไปแขวนห้อยจากเพดาน  วางไว้บนพื้น  ติดไว้กับเฟอร์นิเจอร์ก็ได้  การรับเสียงจากระยะไกลจะสามารถเพิ่มมากขึ้นเมื่อนำไปติดตั้งไว้กับพื้นผิวแข็งๆ
Wireless microphone
          [font=&quot]  ไมโครโฟนประเภทไร้สายที่ใช้งานกันเป็นส่วนมากคือแบบขนาดเล็กจิ๋วใช้ติดเสื้อที่มีตัวเครื่องส่งเหน็บไว้ที่เข็มขัดกับอีกแบบหนึ่งคือแบบมือถือที่มีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุอยู่ภายใน  ทั้งสองแบบจะต้องซื้อมาพร้อมกับตัวเครื่องรับที่ได้รับการตั้งช่องความถี่วิทยุให้ตรงกับตัวเครื่องส่ง  ไมโครโฟนไร้สายแบบติดเสื้อได้รับความนิยมเพราะว่ามันยินยอมให้ผู้แสดงสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระไม่จำกัดและยังหลบซ่อนไม่ให้ปรากฏในภาพได้สะดวก
[font=&quot]            การทำงานของไมโครโฟนแบบนี้ใช้ความถี่วิทยุในการรับส่งสัญญาณเสียงโดยผู้ใช้สามารถเลือกปรับความถี่ที่เหมาะสมดีที่สุดได้  สำหรับการนำไปใช้งานมีข้อควรปฏิบัติดังนี้   เนื่องจากต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6-10 [font=&quot]ชั่วโมงดังนั้นก่อนใช้งานควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่มีพลังงานเพียงพอสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง   ประการถัดมาถ้ามีการใช้งานมากกว่าหนึ่งชุดต้องทำการปรับแต่งให้ใช้ความถี่วิทยุที่ไม่ตรงกัน  ประการสุดท้ายควรหลีกเลี่ยงการนำไปใช้งานใกล้กับโครงสร้างที่เป็นโลหะขนาดใหญ่เพราะว่าอาจเกิดปัญหาสัญญาณขาดหาย  เสียงเพี้ยนหรืออาจมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นได้  ถึงแม้ว่าจะมีระบบสายอากาศสองต้น(diversity)[font=&quot]ก็ยังหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้ยาก

คราวหน้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ปรับแต่งควบคุมเสียงและการใช้งานครับ เเล้วพบกันใหม่




[font=&quot]

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
249
เงิน
798
ความดี
3490
เครดิต
3070
จิตพิสัย
8316
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
- ประการสุดท้ายควรหลีกเลี่ยงการนำไปใช้งานใกล้กับโครงสร้างที่เป็นโลหะขนาดใหญ่เพราะว่าอาจเกิดปัญหาสัญญาณขาดหาย  เสียงเพี้ยนหรืออาจมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นได้  ถึงแม้ว่าจะมีระบบสายอากาศสองต้น(diversity)[font=&quot]ก็ยังหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้ยาก

รบกวนอธิบายด้วยครับว่าทำไมสัญญาณขาดหาย เสียงเพี้ยนหรือมีสัญญาณรบกวน  รบกวนยกตัวอย่างโครงสร้างโลหะหน่อยครับเช่น เสาไฟฟ้าแรงสูงหรืออื่นๆครับ ตอนนี้พี่ทำงานอยู่ที่skyexitป่าวครับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้