สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 21846เข้าชม
  • 42ตอบกลับ

ตัดต่อ 2

โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

หลังจากที่เราออกกองถ่ายหนังมาแล้ว เมื่อมาห้องตัดเราจะเจอกับฟุตเตจ(ภาพที่ถ่ายมา)จำนวนมหาศาล สิ่งที่คนตัดต่อควรทำเลยนะครับ เวลาจะตัดต่ออะไรซักอย่าง

1.ศึกษาบท อ่านบทให้เข้าใจ(จำเป็นมากครับที่ต้องดูบท) และในหนังสั้นที่ไม่มีคนจด รีพอร์ต คอนทินิวต์ หรือสคริปท์ซูเปอร์ไวเซอร์ ควรจะขอบทผู้กำกับมาอ่านเลยครับ หลายครั้งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงบทตอนถ่ายทำ และส่วนมาก ผกก. ก็มักจะบันทึกไว้ในบทของตัวเอง ต้องอ่านครับอ่านให้เห็นอารมณ์ของหนังทั้งเรื่องก่อน(มีไอเดียอะไรก็จดเอาไว้นะครับ)

2.ศึกษาฟุตเตจครับ เอาฟุตเตจทั้งหมดมานั่งดูครับ ว่าเป็นฟุตเตจที่สมบูรณ์มั๊ย เขาถ่ายมาอย่างไร ควรดูให้ผ่านตาให้หมดนะครับ ถ้าขี้เกียจก็ดูมันตอนแคปเจอร์แหละครับ

3. ปรึกษาหาแนวทางกับผู้กำกับ ถึงเราจะเป็นคนตัด แต่ก็แน่นอนครับ ว่ามันไม่ใช่หนังของเรา ดังนั้นเมื่อเราเตรียมตัวในส่วนของเราพร้อมแล้ว ก็คุยกันกับผู้กำกับเลยว่าเขาต้องการยังไง ล้วงเขามาให้หมดครับ เขาไม่พูดก็พยายามบีบคอให้พูด จะได้ไม่ต้องรื้อเยอะหลังจากตัดไปแล้วครับ (สงสัยมั๊ยครับว่าทำไมต้องศึกษาบทกับดูฟุตเตจก่อนคุยกับผู้กำกับ ที่ต้องศึกษาก่อนเพราะจะได้คุยกันรู้เรื่องครับ ผู้กำกับชอบคุยเหมือนคนตัดต่ออยู่ที่กองถ่ายด้วย ซึ่งจริงๆเราไม่ได้อยู่ตรงนั้น ดังนั้นศึกษาไว้ก่อนดีที่สุดครับ เขาพูดขึ้นมาเราจะได้รู้ว่าเขาพูดถึงตรงไหน )

ลงมือตัดต่อ

แรกสุดเราจะเริ่มจากการตัด
1.ราฟคัท  คือการตัดหยาบตามบทหนังเลย วางลงไปทีละซีน ทีละซีนครับ เราตัดขั้นตอนนี้เพื่อให้เห็นภาพรวมของการเล่าเรื่องทั้งหมด เรื่องจังหวะยังไม่ต้องสนใจมากครับวางลงไปหลวมๆก่อน สิ่งที่ต้องคำนึงคือ แต่ละซีนเราต้องเล่าให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำอย่างไร โดยที่เวลาเราตัด เอาอะไรขึ้นก่อนก็ได้ เช่นเปิดภาพที่นาฬิกา   (เมื่อไหร่) ภาพพระเอกนั่งสูบบุหรี่แคบๆ(ใคร, ทำอะไร) กว้างออกมาเห็นเป็นออฟฟิศ (ที่ไหน) ปานกลางเขาดับบุหรี่ทั้งที่ดูดไปได้ครึ่งตัว (ทำอย่างไร) ตอบคำถามตัวเองเสมอนะครับว่าเราใส่ภาพนี้เข้ามาทำไม ในการตัดราฟคัทเราจะตัดเพื่อเล่าเรื่องก่อนครับ

2.ตัดละเอียด หลังจากเราเห็นภาพรวมของหนังทั้งเรื่องแล้ว เราจะมาตัดให้ละเอียดขึ้นนิดหน่อย โดยการจัดวางให้ลื่นไหลขึ้นครับ

หลักในการตัดต่อให้ลื่นไหล ก็จะมีสองแบบครับ (ถ้าคนถ่ายถ่ายมาลื่นนะครับ)

ความลื่นไหลในซีน เรามักจะเรียงภาพตามขนาดภาพ คือถ้าเริ่มจากกว้าง เวลาเปลี่ยนขนาดภาพ ก็ต้องเปลี่ยนเป็นปานกลาง และแคบลงตามลำดับ หรือเริ่มแคบ แล้วก็เป็นปานกลาง แล้วค่อยไปกว้าง ถ้าเป็นซีนปรกติธรรมดาก็ควรอยู่ในกฎเกณฑ์นี้ แต่ถ้าจากกว้างมากกระโดดมาเป็นแคบเลยคนดูจะรู้สึกว่าภาพมันโดด (อันนี้ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ปัญหาครับ ถ้าทำเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง) ครับ

ความลื่นไหลระหว่างซีน หรือรอยต่อของแต่ละซีน โดยปกติเราจะดูจบซีนก่อนหน้านี้กับเริ่มซีนถัดไปครับ สองคัทที่อยู่ติดกันนี้จะต้องมีขนาดภาพที่ต่างครับ เช่น ถ้าจบซีนที่ 1 ด้วยคัทกว้าง เริ่มซีนที่ 2ควรจะขึ้นด้วยคัทแคบ เป็นต้น (เหมือนกันนะครับบางทีเขาจะถ่ายมาเพื่อผลพิเศษบางอย่าง ตรงนี้ต้องดูดีๆนะครับ เช่น จบกว้างซีนหนึ่งเห็นคนชนแก้วกัน เปิดซีนถัดมาเป็นแก้วชนกันแต่เปลี่ยนเป็นอีกเหตุการณ์ไปแล้ว นี่ก็จะสร้างความลื่นไหลอีกแบบ)

จากตรงนี้เสร็จ ผู้กำกับจะเข้ามาดูครับ จากนั้นจะเกิดกระบวนการแก้ไข สลับ ขั้นตอนต่อจากนี้จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำกับกับคนตัดต่อมากขึ้น

3.ตัดจริง  ตอนนี้เราเริ่มตัดจริงแล้ว ขั้นตอนนี้จะมีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องครับ ตอนที่เราตัดสองขั้นตอนแรกนี่เพื่อให้เล่าเรื่องได้ ลื่นไหล ไม่งง การตัดขั้นตอนนี้ เราต้องเรียงใหม่ สลับ คลิปบางอย่างออก เพื่อให้ได้อารมณ์ที่เราต้องการ ตอนนี้ต้องตั้งเป้าไว้ในใจเลยนะครับ ว่าแต่ละซีนเราต้องการให้คนดูรู้สึกอย่างไร จังหวะ (Tempo) ของหนังก็จะเป็นไปอย่างนั้น  
การตัดภาพหนึ่งครั้งในหนัง ไม่ใช่ว่านึกจะตัดก็ตัดนะครับ มันต้องมีจังหวะ เหมือนดนตรีมันก็มีจังหวะของมัน เราใช้หลักการเดียวกันเลยก็ได้ครับ ลองเอาเพลงวางแล้วนับห้องนะครับ หนึ่งห้องมี 4 จังหวะ

1 2 3 4 / 1 2 3 4 / 1 2 3 4 / 1 2 3 4  

ระหว่างห้องนี่คือจุดที่เราจะตัดภาพครับ ถ้าตัดลงจังหวะเป๊ะก็ตัดตรง 4 ครับ ภาพจะไม่ควรตัดคร่อมจังหวะครับ ระหว่างตัดก็ปูเพลงที่อารมณ์ใกล้เคียงกัน แล้วตัด ถ้า งง อยู่ก็ เอ่อ...ตัดตามเสียงกลองเลยครับ ตรงไหนมีกลองลงคือตัดได้ แต่ละคัทจะยาวจะสั้นก็ได้ แต่ต้องตัดที่จุดที่ลงจังหวะทั้งนี้ก็ต้องสอดคล้องกับการเคลื่อนกล้องและการแสดงด้วยนะครับเรียกได้ว่าทุกอย่างจะถูกจัดวางให้ลงตัวที่สุดในขั้นตอนนี้ (แต่อย่าวางจังหวะเท่ากันจนเกินไปนะครับ คนดูอาจจะรู้สึกเบื่อได้)

การตัดจริงนี้ อาจจะเกิดขึ้นอีกหลายดราฟท์ จนกว่าจะเจอจุดที่ลงตัวที่สุดสำหรับหนังของเราซึ่งไม่มีใครบอกได้นอกจากตัวเราเองครับ

ลักษณะช็อตต่างๆที่จะนำมาใช้ในการตัดต่อ


ช็อตหลายๆแบบ ถูกถ่ายมาเพื่อใช้งานในแบบที่ต่างกันนะครับ ถ้าผู้กำกับที่แม่นๆแล้วก็จะทำให้ผู้ตัดต่อเบาแรงลงอย่างเห็นได้ชัดเพราะว่า ช็อตต่างๆที่ถ่ายมานั้นได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

เรามาดูกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรบ้าง

1. มาสเตอร์ช็อต (Master shot) คือช็อตที่ถ่ายคลุมเหตุการณ์ทั้งหมดมาแล้ว มักจะเป็นภาพกว้างที่เห็นตำแหน่ง และการเคลื่อนย้ายตำแหน่งต่างอย่างชัดเจน ช็อตนี้มักมีความสำคัญเพื่อใช้อ้างอิงตำแหน่งต่างๆ และเส้น180 และความสัมพันธ์ทางสายตาระหว่างตัวแสดง

2. พิคอัฟ ช็อต / คัท อิน ช็อต (Pick up / cut in shot) จากมาสเตอร์ผู้กำกับมักถ่ายภาพที่แคบเข้ามาเอาไว้เผื่อ เราเรียกแบบไทยๆว่าถ่ายเจาะเจาะตัวละครตัวที่ 1 2 3 จนครบ (ในการเปลี่ยนขนาดภาพถ้าเป็นผู้กำกับที่มีความรู้เรื่องการตัดต่อด้วย มักจะย้ายมุมจากขนาดที่ต่างกันราวๆ 30 องศาเพื่อความลื่นไหลในการตัดต่อ ตรงนี้เดี๋ยวเราจะว่าต่อไปในห้องเรียนหนังวันพุธซึ่งเป็นเรื่องของการถ่ายทำโดยเฉพาะครับ) การถ่ายเจาะนี้ ถ้าไม่กลัวเปลืองแล้วถ่ายเจาะยาวทั้งซีน เราจะได้รูปแบบช็อตมาสองแบบครับ คือ

3. ช็อตคนพูด (Active Shot) คือเราจะได้ภาพของตัวละครที่พูดมาเป็นองค์ประกอบ เรียกว่าเป็นภาพของคนที่พูด หรือเป็นภาพของตัวกระทำ

4. ช็อตรับ (Reaction shot) คือช็อตที่แสดงปฏิกิริยาของฝ่ายที่รับคำพูดจาก ช็อตแบบที่ 3 (ซึ่งมือใหม่หลายคนกลัวเปลือง ก็จะถ่ายแต่ฝั่งคนพูด พอเอามาตัดบางครั้ง สีหน้าและอารมณ์คนฟังสำคัญกว่าแต่ดันไม่ได้ถ่ายมา

5. ช็อตแทรก (Insert shot) เป็นช็อตเน้นบางอย่าง ที่ตัวละครกระทำ เป็นภาพขนาด BCU เสมอ เช่น ตัวละครยกแก้วกาแฟ วางแก้วกาแฟ หยิบของที่มีความสำคัญ

6. ช็อตแทนสายตา (Point of view Shot) เป็นภาพแทนสายตาของตัวละครขนาดภาพขึ้นอยู่กับว่าตัวละครจะดูอะไร หรือมองอะไรอยู่ เช่นมองเอกสารสำคัญที่อยู่ในมือ มองภาพในโทรทัศน์ ช็อตประเภทนี้จะต้องอยู่ต่อจากภาพตัวละครที่มองเสมอ ไม่อย่างนั้นจะงงได้ว่าเป็นภาพมุมมองของใคร

7. ช็อต คัทอะเวย์ (Cut away shot) ไม่รู้ว่าเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไรเหมือนกันครับ ลักษณะการใช้งานคล้ายช็อตอินเสิร์ท แต่มักถ่ายสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแอคชั่นของฉากนั้นโดยตรง เช่น ภาพพระอาทิตย์ตกดิน วิวทิวทัศน์ต่างๆ ถ่ายมาเพื่อใช้เปลี่ยนเวลา

8. ทราฟเวลลิ่ง ช็อต (Travelling Shot) ช็อตท่องเที่ยว..! ไม่ใช่ อธิบายยังไงดีเนี่ย เคยเห็นช็อตที่เลื้อยไปตามรูปภาพ ช็อตที่เลื้อยๆไปตามของต่างๆที่อันตรายก่อนเข้าภาพที่ตัวละครจะเดินเข้ามามั๊ยครับ นั่นแหละครับ ช็อตท่องเที่ยว ...เราใช้ในการแนะนำรายละเอียดบางอย่างของสถานที่ และเพื่อเสริมอารณ์ในฉาก

9. ช็อตแนะนำสถานที่ (Establish Shot) เป็นช็อตภาพเปิดฉาก ตึก บ้าน หลักกิโล สถานที่ มักเป็นภาพกว้าง เพื่อใช้แนะนำว่าตอนนี้เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหนครับ

10. สวิตช์ ช็อต (Switch Shot) เป็นช็อตที่นำมาใช้กับการเปลี่ยนภาพ (Transition )โดยเฉพาะ เคยเห็นช็อตที่แพนเร็วๆจนเห็นเป็นเส้นๆ เวลาเปลี่ยนจากฉากนึงไปอีกฉากนึงมั๊ยครับ นั่นแหละครับที่เรากำลังพูดถึง

ทั้งหมดนี่ คือประเภทของช็อตปรกติที่มีอยู่ในฟุตเตจต่างๆที่ถ่ายมาครับ
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 10 คะแนน ความดี +7 เงิน +3 ซ่อน
tabb ความดี +1 2013-01-10 -
teerasay ความดี +1 2013-01-08 -
tawut ความดี +1 2011-12-04 -
tanjaree ความดี +1 2011-06-24 -
sirikait ความดี +1 2011-06-21 -
sevenghost ความดี +1 2011-06-18 ขอบคุณสำหรับการแนะแนวทางครับ^w^
gigapixel ความดี +1 2011-05-09 ขอบคุณคับ
mamaxx เงิน +1 2010-07-23 -
noom-hd เงิน +1 2010-05-02 -
cjtuk เงิน +1 2010-05-02 -

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วยความเคารพ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
242
เงิน
11567
ความดี
10080
เครดิต
10506
จิตพิสัย
10093
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เยี่ยมครับ ข้อมูลแน่นปึ้ก!!!
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

ได้เรียนรู้ลักษณะช็อตต่างๆ ขอบคุณมากครับ
โพสต์
210
เงิน
8103
ความดี
6679
เครดิต
7731
จิตพิสัย
7047
จังหวัด
เชียงใหม่

ยอดเยี่ยม ขอบคุณครับ...
โพสต์
1858
เงิน
56103
ความดี
46498
เครดิต
51231
จิตพิสัย
52476
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-02
เย้... ได้อ่านข้อเขียนหนังของคุณfoolmoon แล้วมีความรู้ติดตัวไปทุกครั้ง

............ขอบคุณมากครับ.............
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
369
เงิน
10013
ความดี
8199
เครดิต
8313
จิตพิสัย
9992
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-03
ผมจะติดตามตลอดนะครับมีข้อมูลดีๆมาฝากอีกนะครับผมชอบมากเลย เพราะตัวผมเองไม่ได้จบสายภาพยนต์
หรือนิเทศ
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-03
ขอบคุณทุกๆคนที่ติดตามผลงานครับ เอ...ถ้าผมตีพิมพ์จะมีคนซื้อมั๊ยเนี่ย
ด้วยความเคารพ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-03
ตอบกลับโพส 6 โพสของ (foolmoon)
ผมคิดว่าขายได้เรื่อยๆครับ พิมพ์แล้วอย่าลืมบอกแฟนๆใน ThaiDFilm ด้วยนะครับ
โพสต์
1858
เงิน
56103
ความดี
46498
เครดิต
51231
จิตพิสัย
52476
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-03
ผมซื้อคนนึงแน่นอนคุณ foolmoon เอาดิ...
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
221
เงิน
7782
ความดี
5272
เครดิต
5353
จิตพิสัย
6291
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-13
เก็บสตางค์ รอแล้วคับ อาจารย์ ยอดเยี่ยมครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
273
เงิน
8194
ความดี
6242
เครดิต
6022
จิตพิสัย
8258
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-18
ข้อมูลดีจริงๆครับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
174
เงิน
6289
ความดี
3747
เครดิต
4608
จิตพิสัย
2721
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 11#  โพสต์เมื่อ: 2010-06-26
ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก II
โพสต์
16
เงิน
1064
ความดี
486
เครดิต
427
จิตพิสัย
456
จังหวัด
เชียงใหม่
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 12#  โพสต์เมื่อ: 2010-06-28
ซื้อแน่นอนครับ  ความรู้ดีๆๆแบบนี้
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
140
เงิน
4979
ความดี
3369
เครดิต
3284
จิตพิสัย
3467
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 13#  โพสต์เมื่อ: 2010-07-23
แจ่มมากครับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
171
เงิน
5362
ความดี
4211
เครดิต
4200
จิตพิสัย
4838
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 14#  โพสต์เมื่อ: 2010-09-02
มือใหม่ได้รับความรู้มากมายคับพี่ ขอบคุณจริงๆคับ ...
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้