สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 2985เข้าชม
  • 4ตอบกลับ

ทำ Time-lapse Cloud ตอนมีพายุ...

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
107
เงิน
6640
ความดี
4767
เครดิต
4587
จิตพิสัย
4674
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร



ท่านอาจเคยได้ยินชื่อของ Eadweard Muybridge ผู้ซึ่งทำให้ภาพนิ่งของม้าหลายท่าทาง
กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวของม้าวิ่งได้ เป็นข้อพิสูจน์ประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในเวลานั้น
ว่า ในขณะที่ม้าวิ่งนั้น มีช่วงเวลาที่ขาม้าทั้งสี่ยกลอยอยู่เหนือพื้นดิน

ภาพยนต์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกนี้ เมื่อ Auguste และ Louis Lumiere ฉายภาพนิ่งแบบต่อเนื่อง
ทำให้คนเราเห็นภาพเคลื่อนไหวได้

หากความเร็วของการฉายภาพ เท่ากับความเร็วของการบันทึกภาพ ภาพยนต์ที่ได้จะปรากฏออกมา
คล้ายการเคลื่อนที่จริง นักสร้างภาพยนต์ใช้ เทคนิค Undercranking เพื่อบันทึกภาพช้ากว่า
ความเร็วการฉายภาพ ทำให้ภาพเคลื่อนไหวเร็วขึ้น และ เทคนิค Overcranking เพื่อบันทึกภาพ
เร็วกว่าความเร็วการฉายภาพ ทำให้ภาพเคลื่อนไหวช้าลง


Time-lapse สามารถย่อเวลาจาก ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือแม้กระทั่ง ปี ให้เหลือเพียง
ไม่กี่วินาที

การสร้าง Time-lapse Video สร้างได้จากกล้องดิจิตอลทั่วไป, กล้องดิจิตอลประเภท DSLR, กล้องถ่ายภาพยนต์ และ กล้องวีดีโอ

การถ่ายภาพ time-lapse :

พจนานุกรม Longdo ดู ให้คำจำกัดความเป็นภาษาไทยของคำว่า "Time-lapse" ว่า "ซึ่งถ่าย
ภาพช้าๆ" และ "ซึ่งเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพอย่างช้าๆ"


Time-lapse เป็นเทคนิคการทำภาพยนต์ ที่มีการบันทึกภาพแต่ละเฟรมในความเร็วที่น้อยกว่าการ
เล่นภาพยนต์มาก เมื่อเล่นภาพยนต์ ภาพที่เห็นจึงปรากฎด้วยความเร็วสูงขึ้นมาก คล้ายกับการ
ย่นย่อเวลาให้เร็วขึ้นนั่นเอง


Time-lapse Photography นับเป็นเทคนิคที่ตรงกันข้ามกับ High Speed Photography
(อ่านรายละเอียดได้ที่ การถ่ายวีดีโอความเร็วสูง) ทำให้เราสามารถศึกษารายละเอียดของ
กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกินกว่าที่ตาคนเราจะสังเกตเห็นได้ ได้แก่ การเคลื่อนไหวของพืช (การบาน/หุบของดอกไม้, การเลื้อยพันของไม้เถา,
การงอกของเมล็ด), การเคลื่อนที่ของ
ดาว, การเคลื่อนที่ของเมฆ, การเน่าของผลไม้, การก่อสร้าง, ฝูงชน เป็นต้น


Time-lapse นับเป็นเทคนิคที่นับเป็นที่สุดของเทคนิคที่เรียกว่า undercranking และมักถูก
สับสนกับเทคนิค stop motion


ความเร็วของการบันทึกวีดีโอธรรมดา อยู่ประมาณ 24-30 เฟรม/วินาที (60 เฟรม/วินาที สำหรับ
HD บางประเภท) ดังนั้นความเร็วของ time-lapse photography จึงเป็นได้ตั้งแต่ 30 เฟรม/
วินาที, 1 เฟรม/วินาที, 1 เฟรม/นาที, 1 เฟรม/ชม. 1 เฟรม/วัน, 1 เฟรม/สัปดาห์ จนถึงนาน
เท่าไรก็ได้ที่จำเป็น


คำว่า time-lapse ยังหมายถึงการเปิด shutter ของกล้อง สำหรับการบันทึกแต่ละเฟรม
ของฟิล์ม(หรือวีดีโอ) ด้วย เราอาจใช้ time-lapse ทั้ง 2 ประเภท ร่วมกันได้ เช่น การบันทึกภาพ
ดาว ที่แต่ละเฟรมใช้เวลาการเปิดหน้ากล้อง 30 วินาที และมีความถี่ในการบันทึกภาพ 1 เฟรม/
นาที เป็นต้น
[ แก้ไขล่าสุดโดย finalfoto เมื่อ 2010-09-10 19:50 ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

โพสต์
714
เงิน
25238
ความดี
25792
เครดิต
25951
จิตพิสัย
27913
จังหวัด
สุราษฎร์ธานี

ขอบคุณมากสำหรับความรู้ครับ....ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
289
เงิน
8399
ความดี
10560
เครดิต
6255
จิตพิสัย
3120
จังหวัด
เชียงใหม่

ใช่ที่เห็นบ่อยในงานสารคดีหรือไม่ครับ
เช่นภาพดอกไม้กำลังบาน ภาพเห็นผุดขึ้นมาจากดิน อะไรทำนองนี้
โพสต์
1243
เงิน
38524
ความดี
32363
เครดิต
33584
จิตพิสัย
35336
จังหวัด
สมุทรปราการ

แนน จริง ขอบคุณครับบ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2010-09-11
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้