สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 3558เข้าชม
  • 19ตอบกลับ

อยากทราบเรื่องภาพยนตืฟิม

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
414
เงิน
10307
ความดี
9193
เครดิต
9018
จิตพิสัย
11251
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
อยากทราบเกี่ยวกับภาพยนต์ฟิมล์ครับ รบเพื่อนๆพี่ๆน้องๆให้ความรู้เเก่ตัวผมเอง เเละเพื่อนสมาชิกบางท่านที่ยังไม่ทราบด้วยครับ
    // ตามความเข้าใจผมนะฟิมเวลาถ่ายจะได้ภาพออกมาเป็นเเฟรมๆเหมือนภาพนิ่ง เวลาฉายก็เอามาวิ่งๆ จะทําให้เกิดภาพเคลื่อนไหว มีคําภามว่า
  1. ถ่ายออกมาเวลาตอนที่เราจะedit หรือ จะเเต่ง เพิ่ม effect จะใส่ CG บนหนังฟิมล์ของเราเนี้ย เราต้องทําอย่างไร
  2. เวลาได้ฟิมที่สําเร้จเเล้ว เวลาเอาไปฉายในโรง เค้าเอาฟิมลต้นฉบับไปฉายในโรงหรอ  หรือเค้าสามารถสําเนาฟิมได้หรอ
  3. สามารถเเปลงได้มั๊ย   จากกล้องที่ถ่ายดิจิตอล  เเปลงให้กลายเป็นฟิม Digital ---->  film
                           หรือฟิม เป็นดิจิตอล                                        Film     ---->  Digital
  4. หนังในปัจจุบันเค้าถ่ายด้วย digiะal กันเยอะเเล้ว  เเล้วเวลาฉายในโรง เค้าต้องฉายด้วย digital อยา่งเดวหรือป่าว หรือต้องทําเป็น film (ต่อจากข้อ 3 )


  • รูปภาพ:101208_ghettofilm_02 © Itai Neemann.jpg
  • รูปภาพ:ภาพถ่ายจากเว็บไซต์
    รูปภาพ:090849_008.jpg

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
544
เงิน
9933
ความดี
7297
เครดิต
6890
จิตพิสัย
8542
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
1. เค้าจะสแกนเป็นดิจิตอลครับ ความละเอียดก็แล้วแต่ว่าจะแสกนที่ 2k หรือ 4k
2. ปริ้นท์ฟิล์มเพิ่มครับ หรือ output เป็น digital ทำเป็นไฟล์ดิจิตอล ฉายเครื่องฉายดิจิตอล
3. แปลงได้หมดครับ ถ้าฟิล์มก็เข้าเครื่องสแกน ทำเป็นดิจิตอล  ถ้าดิจิตอลก็ไปทำ DCP แล้วปริ้นท์เป็นฟิล์ม
4. บ้านเรายังผสมกันครับ  แต่ต่างประเทศกำลังเปลี่ยนเป็นดิจิตอลหมดแล้ว
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +1 ซ่อน
krerk ความดี +1 2013-02-07 -
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เครื่องสแกนฟิล์ม ...


ARRISCAN

เครื่องปริ้นฟิล์ม


ARRILASER







Digital intermediate (DI)

Digital intermediate (typically abbreviated to DI) is a motion picture finishing process which classically involves digitizing a motion picture and manipulating the color and other image characteristics. It often replaces or augments the photochemical timing process and is usually the final creative adjustment to a movie before distribution in theaters. It is distinguished from the telecine process in which film is scanned and color is manipulated early in the process to facilitate editing. However the lines between telecine and DI are continually blurred and are often executed on the same hardware by colorists of the same background. These two steps are typically part of the overall color management process in a motion picture at different points in time. A digital intermediate is also customarily done at higher resolution and with greater color fidelity than telecine transfers.

Although originally used to describe a process that started with film scanning and ended with film recording, digital intermediate is also used to describe color grading and final mastering even when a digital camera is used as the image source and/or when the final movie is not output to film. This is due to recent advances in digital cinematography and digital projection technologies that strive to match film origination and film projection.
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เอาแบบเข้าใจง่าย ไม่เน้นวิชาการละกันนะครับ

1.แบบสมัยก่อน ตั้งแต่ยุคบุกเบิก~ซักสิบปีก่อน:ถ่าย-ตัด-ฉายด้วยฟิล์มตลอดกระบวนการครับ
-ฟิล์มที่วิ่งในกล้อง ก็คือฟิล์มเนกาทีฟ ล้างมาดู เห็นเป็นสีกลับ(Negative) ดูไม่รู้เรื่อง
-แล้วก็เอามาพิมพ์ออกเป็น Positive (คือสีตรงตามธรรมชาติ) ก่อน 1 ชุด สำหรับตัดต่อ หลักการเดียวกับการใช้ proxy file ในการตัดต่อด้วยคอมพ์สมัยนี้แหละครับ พอลองตัดจนพอใจแล้ว ค่อยเอา
Edit Decision List ไปเทียบกับเนกาทีฟต้นฉบับ เพื่อตัดจริงอีกที
-ส่วนไตเติ้ล/เอฟเฟคต่างๆ ก็ใช้การพิมพ์ฟิล์มซ้อนกัน ด้วยเครื่องพิมเฉพาะ (Optical Printer) แยกต่างหาก แล้วค่อยเอาไปต่อรวมกับฟุตเทจอื่นๆ
-พอเสร็จหมด ก็ค่อยพิมพ์ Positive copy สำหรับฉายออกมาจากต้นฉบับอีกที




แถมนิดนึง - หนังไทยสมัยก่อน ที่สูญหายกันไปหลายเรื่อง ก็เพราะไม่ได้เก็บรักษาเนกาทีฟต้นฉบับไว้ให้ดี ปล่อยให้เสื่อมสภาพไปบ้าง แล็บที่ฮ่องกง(สมัยก่อนเราส่งฟิล์มไปล้างที่นั่น)เก็บไม่ไหว ฌาปนกิจไปบ้าง จนไม่มีอะไรเหลือ
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
2.ซักสิบปีก่อน~ไม่กี่ปีที่ผ่านมา:ถ่ายฟิล์ม ตัดในคอมพ์ แล้วก็ฉายฟิล์ม
-ตอนถ่าย ยังใช้ฟิล์มอยู่
-แต่ตอนตัดต่อ ใช้วิธีโยนลงในคอมพ์ แล้วใช้โปรแกรมตัดต่อออกมาดูคร่าวๆก่อน ยังไม่แก้สี/ลง Effect ใดๆ
-พอใจแล้ว ก็ค่อยสั่งปรินท์ EDL มาตัดเนกาทีฟอีกที ฉบับที่ตัดอยู่ในคอมพ์ ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรอีก ยกเว้นจะเก็บไว้ทำ Deleted Scene ตอนออกดีวีดีโน่น
-ตอนฉายก็เหมือนเดิม
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
3.ตอนนี้:ถ่าย+ตัด+ฉาย ไม่ต้องใช้ฟิล์มแล้วครับ
-ตอนถ่าย จะใช้กล้อง DSLR ธรรมดาไปยัน RED ก็แล้วแต่กำลังทรัพย์
-ตอนตัด ก็ NLE ล้วนๆ
-ตัดจนพอใจ เรนเดอร์ออกมา ความละเอียด 2K หรือ 4K ก็แล้วแต่ทุนสร้างเช่นกัน
-ตอนฉาย ถ้าเป็นโรงดิจิตอลก็ตรงๆอยู่แล้ว แต่ก็ยังมียิงออกเป็นฟิล์ม สำหรับฉายโรงที่ยังฉายฟิล์ม/หน่วยหนังเร่อยู่บ้าง
แต่แนวโน้ม ผมว่าปริมาณฟิล์มที่พิมพ์ออกมา คงจะลดลงเรื่อยๆ ปีนี้น่าจะออกหัวหรือก้อยให้ได้เห็นกันบ้างละ


ปอลอหนึ่ง ย้ำอีกทีว่า อันนี้เล่าแบบคร่าวๆพอให้เข้าใจหลักการ เลยไม่ลงรายละเอียด ไม่มี reference ใดๆ แปลว่า อย่าเอาไปอ้างอิงต่อนะครับ เชื่อถือไม่ค่อยได้
ปอลอสอง ประเด็นการฉายด้วยฟิล์ม/ดิจิตอลนี่แหละ ทำเอาอีกเว็บที่ผมเป็นสมาชิกอยู่ (peoplecine.com - แอบโฆษณานิดนึง  ) บอร์ดแทบแตกมาแล้ว จนสมาชิกกลุ่มรักการฉายฟิล์มระดับ Hard Core แยกตัวออกไปอยู่เว็บอื่นเลยก็มี
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
249
เงิน
798
ความดี
3490
เครดิต
3070
จิตพิสัย
8316
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
เพิ่มเติมครับ ถ้าถ่ายฟิล์ม แล้วแปลงเป็นไฟล์ไปตัดต่อแล้วแปลงกลับมาเป็นฟิล์มอีกที ค่าFilm Transfer + Color Grade อย่างต่ำ 1 ล้านบาทครับ อ้างอิงจาก http://www.onpa.co.th/postproduction_services_th.php
ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
87
เงิน
2468
ความดี
2784
เครดิต
2541
จิตพิสัย
3145
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
EDL
NLE  

หมายถึงอะไรครับ



ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
414
เงิน
10307
ความดี
9193
เครดิต
9018
จิตพิสัย
11251
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์3 ต้นฉบับโพสต์โดยmr.nantawatเมื่อ2013-02-06 09:29เผยแพร่ :
เอาแบบเข้าใจง่าย ไม่เน้นวิชาการละกันนะครับ

1.แบบสมัยก่อน ตั้งแต่ยุคบุกเบิก~ซักสิบปีก่อน:ถ่าย-ตัด-ฉายด้วยฟิล์มตลอดกระบวนการครับ
-ฟิล์มที่วิ่งในกล้อง ก็คือฟิล์มเนกาทีฟ ล้างมาดู เห็นเป็นสีกลับ(Negative) ดูไม่รู้เรื่อง
-แล้วก็เอามาพิมพ์ออกเป็น Positive (คือสีตรงตามธรรมชาติ) ก่อน 1 ชุด สำหรับตัดต่อ หลักการเดียวกับการใช้ proxy file ในการตัดต่อด้วยคอมพ์สมัยนี้แหละครับ พอลองตัดจนพอใจแล้ว ค่อยเอา
.......


ผมยังงงๆกับขั้นตอนการตัดต่อครับ
เช่น สมมติผมจะเกรดสีของฟิม วิธีต้องทํายังไง // เเล้วที่บอกว่าสร้างฟิมมาทับเวลาทํา CG เค้าสรา้งกนยังไงครับมันถึงจะตรงกันทุกเฟรม
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
414
เงิน
10307
ความดี
9193
เครดิต
9018
จิตพิสัย
11251
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์4 ต้นฉบับโพสต์โดยmr.nantawatเมื่อ2013-02-06 09:32เผยแพร่ :
2.ซักสิบปีก่อน~ไม่กี่ปีที่ผ่านมา:ถ่ายฟิล์ม ตัดในคอมพ์ แล้วก็ฉายฟิล์ม
-ตอนถ่าย ยังใช้ฟิล์มอยู่
-แต่ตอนตัดต่อ ใช้วิธีโยนลงในคอมพ์ แล้วใช้โปรแกรมตัดต่อออกมาดูคร่าวๆก่อน ยังไม่แก้สี/ลง Effect ใดๆ
-พอใจแล้ว ก็ค่อยสั่งปรินท์ EDL มาตัดเนกาทีฟอีกที ฉบับที่ตัดอยู่ในคอมพ์ ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรอีก ยกเว้นจะเก็บไว้ทำ Deleted Scene ตอนออกดีวีดีโน่น
-ตอนฉายก็เหมือนเดิม

วิธีโยนลงคอมเนี้ยหมายถึงว่าเอาฟิมไปสเเกนเเล้วเอาไฟลงไปตัดต่อในคอมรึป่าวครับ
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์8 ต้นฉบับโพสต์โดยkrerkเมื่อ2013-02-06 17:05เผยแพร่ :


ผมยังงงๆกับขั้นตอนการตัดต่อครับ
เช่น สมมติผมจะเกรดสีของฟิม วิธีต้องทํายังไง // เเล้วที่บอกว่าสร้างฟิมมาทับเวลาทํา CG เค้าสรา้งกนยังไงครับมันถึงจะตรงกันทุกเฟรม






ถ้าเป็นสมัยก่อน ก็เกรดสีกันขั้นเกือบสุดท้ายเลย คือหลังจากตัดเสร็จหมดแล้ว ก็ค่้อยเอามาเข้าเครื่องเกรดสี (ประมาณว่ากล้องวิดีโอ ถ่ายจากฟิล์มเนกาทีฟ แล้วกลับสีเป็นโพสิทีฟ ก่อนจะแสดงผลออกจออีกที) เราก็ลองปรับจนพอใจ ก่อนจะบันทึกค่าการปรับตั้งต่างๆไว้ แล้วตอนที่พิมพ์ก็อปปี้สำหรับฉายนั่นแหละครับ เครื่องจะสามารถตั้งค่าการชดเชยสีตอนก็อปปี้ได้เลย โดยจะปรับไปเรื่อย ตามค่าที่เรากำหนดไว้ล่วงหน้า

อ้อ ตอนพิมพ์ออกมา ใช้เครืองที่เรียกว่า contact printer ครับ เครื่องแบบนี้ จะไม่มีกล้อง ไม่มีเลนส์ แค่เอาฟิล์มต้นฉบับมาประกบกับฟิล์มเปล่า แล้วฉายแสงเข้าไป หลักการก็มีเท่านี้ ใช้สำหรับก็อปปี้ฟิล์มกันทีละเยอะๆ เพราะเครื่องเดินด้วยความเร็วสูงได้


ส่วนการทำเอฟเฟคต่างๆ ก็ต้องใช้เครื่องที่เรียกว่า Optical Printer หน้าตาประมาณในรูป ค่อยๆก็อปปี้ฟิล์มกันทีละชั้น ทีละชั้น จากหลายๆส่วนทางด้านซ้าย ลงไปยังฟิล์มเปล่าที่อยู่ฝั่งขวา อยู่ในที่หน้าตาเหมือนกล้องถ่ายหนังนั่่นแหละครับ ค่อยๆเดินฟิล์มทีละเฟรมๆๆ ใช้เวลานานกว่าจะเสร็จ จึงไม่เหมาะสำหรับสั่งพิมพ์ทีละเยอะๆ
  • รูปภาพ:contact printer.JPG
  • รูปภาพ:optical-printer.jpg
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +1 ซ่อน
vfspostwork ความดี +1 2013-02-07 -
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 11#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-06
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์9 ต้นฉบับโพสต์โดยkrerkเมื่อ2013-02-06 17:07เผยแพร่ :

วิธีโยนลงคอมเนี้ยหมายถึงว่าเอาฟิมไปสเเกนเเล้วเอาไฟลงไปตัดต่อในคอมรึป่าวครับ





ก็ประมาณนั้นแหละครับ เหมือนที่เราๆนั่งทำกันอยู่ทุกวันนี่แหละ เพียงแต่สมัยนั้น ถึงตัดไป ก็เอาไปใช้จริงยังไม่ได้ เพราะเครื่องคอมพ์ยังสมรรถนะจำกัด ตัดที่ Resolution สูงๆ/ความละเอียดมากๆไม่ได้ เลยเอาไว้ดูเป็นแนวทางเฉยๆ ตอนตัดจริง ก็ต้องไปตัดที่ฟิล์มอยู่ดี



ปอลอ เปลี่ยนคีย์บอร์ดเหอะครับ พิมพ์ออกมาแล้วอ่านไม่รู้เรื่องเลย
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
414
เงิน
10307
ความดี
9193
เครดิต
9018
จิตพิสัย
11251
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 12#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-07
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์2 ต้นฉบับโพสต์โดยvfspostworkเมื่อ2013-02-06 05:33เผยแพร่ :
เครื่องสแกนฟิล์ม ...


ARRISCAN

.......

เเจ่มเเจ้งเลย ทําไมต้องเอาฟิลน๊า.......ยังไงๆก็เเปลงเป็นdigital ยู่ดี
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
414
เงิน
10307
ความดี
9193
เครดิต
9018
จิตพิสัย
11251
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 13#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-07
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์11 ต้นฉบับโพสต์โดยmr.nantawatเมื่อ2013-02-06 23:24เผยแพร่ :




ก็ประมาณนั้นแหละครับ เหมือนที่เราๆนั่งทำกันอยู่ทุกวันนี่แหละ เพียงแต่สมัยนั้น ถึงตัดไป ก็เอาไปใช้จริงยังไม่ได้ เพราะเครื่องคอมพ์ยังสมรรถนะจำกัด ตัดที่ Resolution สูงๆ/ความละเอียดมากๆไม่ได้ เลยเอาไว้ดูเป็นแนวทางเฉยๆ ตอนตัดจริง ก็ต้องไปตัดที่ฟิล์มอยู่ดี
.......

สรุปเป็นภาษาง่ายๆสัาหรับผมนะครับ(ผิดถูกชี้เเนะด้วย)....เเเนวคิดของการตัดต่อหนังฟิม คือถ่ายด้วยกล้องฟิม จากนั้นเอาฟิมมาสเเกนเเล้วทําการตัดต่อ+เอฟเฟคต่างๆ เเละมีเจ้าเครื่องOptical Printer เอาไว้วาด CG ลงเเผ่นฟิม ถูกต้องมั๊ยครับ  

-------------------------------------------
ยังไงขอบคุณคุณmr.nantawatมากครับที่ชี้เเนะ ตั้งเเต่งเรื่องเวกัสผมเจ๋งเเล้ว ขอบคุณมากครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
414
เงิน
10307
ความดี
9193
เครดิต
9018
จิตพิสัย
11251
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 14#  โพสต์เมื่อ: 2013-02-07
เสริมอิกนิดนะครับ......ไอ้เเผ่นฟิมเนี้ย มันมีสเนห์มากขนาดนั้นเลยหรอครับ ทําไมหนังฟอมบิ๊กๆเค้าถึงเลือกใช้กันจัง ทั้งๆที่ขั้นตอนยุ้งอยากมากมาก ต้นทุนก็สูงขึ้นมาก    //หนังเรื่อง Fast6  ก็ยังใช้ฟิม ยุเลย
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้